2/28/2556

Ideal Masculinities



Ideal Masculinities

การหาคำตอบต่อคำถามของมอนเตสกิเออ ที่ว่าธรรมชาติสร้างให้ผู้ชายมีอำนาจเหนือกว่าหญิงใช่หรือไม่  คำถามเกี่ยวกับธรรมชาติของผู้หญิงเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจมากในยุค Enlightenment ในศตวรรษที่ 18  ร่างกายของมนุษย์คือเรื่องสำคัญสำหรับข้อสมมุติฐานทางการแพทย์ ซึ่งเชื่อว่าร่างกายของเพศชายคือมาตรฐานที่ใช้ตรวจวัดสรีระของมนุษย์ แต่ร่างกายของเพศหญิงจะไม่มีมาตรฐาน

คำว่า เพศชาย และ เพศหญิง มีความหมายที่บ่งชี้ความแตกต่างทางชีววิทยาของเพศสภาพ ซึ่งเกิดจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในช่วงสมัยหนึ่ง ความรู้ประเภทนี้มิได้ยืนยันความเป็นกลางหรืออยู่คงทนถาวรตลอดไป  คำว่าความเป็นชาย” (masculine) และความเป็นหญิง” (feminine) เป็นคำที่ใช้เรียกบุคลิกลักษณะของมนุษย์โดยการแบ่งแยกประเภทที่ต่างกันสองแบบ  ความคิดของการแบ่งแยกคู่ตรงข้ามคือความคิดที่นำมาใช้ในการนิยามความแตกต่างทางเพศ โดยการให้คุณค่ากับเพศที่ไม่เท่ากัน ซึ่งจะมีเพศแบบหนึ่งดีกว่าอีกแบบหนึ่ง  กระบวนการสร้างความแตกต่างนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมบางแบบซึ่งพยายามจัดระเบียบผู้ชายและผู้หญิงให้มีช่วงชั้นทางสังคมที่ไม่เท่ากัน

การแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมของร่างกายที่มีพลังมากอาจดูได้จากผลกระทบและสิ่งที่เกิดขึ้น  การแสดงด้วยคำพูดและภาษา ซึ่งมีทั้งการเน้นคุณค่า ตอกย้ำ  สำนวน เปรียบเปรย และอื่นๆ  คำพูดและภาษาเป็นสิ่งที่ถูกใช้ในหมู่ผู้มีการศึกษา ซึ่งจะมีการใช้คำพูดที่รับรู้เฉพาะในกลุ่มของตัวเองโดยที่คนอื่นจะไม่รู้  ภาพลักษณ์ของร่างกายคือสิ่งที่ทุกคนรับรู้ได้ แต่บางคนคิดว่าร่างกายเป็นสิ่งที่แปลกประหลาด   ในบทความนี้จะเป็นการศึกษาการใช้คำของพวกชนชั้นขุนนางที่มีการศึกษาเพื่อที่จะดูว่าคำอธิบายต่อร่างกายมีความหมายอย่างไร   ภาพลักษณ์ของร่างกายจะเป็นเหมือนตัวแทนของประสบการณ์ของมนุษย์ ซึ่งเราได้สร้างคำอธิบายต่อภาพลักษณ์เหล่านั้น 

ภาพลักษณ์ของร่างกายคือสิ่งที่เราใช้แยกความแตกต่างระหว่างตัวเรากับคนอื่น ใช้ตอกย้ำความเป็นตัวเอง ใช้บ่งชี้ว่าคนอื่นต่างจากเรา และทำให้เรามีตัวตน   อย่างไรก็ตามการร่างกายที่ถูกแสดงออกมาเป็นร่างในเชิงนามธรรม กล่าวคือ เป็นผลผลิตทางความคิดซึ่งมีเงือ่นไขทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นตัวหล่อหลอม  ผู้ที่สร้างภาพลักษณ์ของร่างกายมีเงื่อนไขทางสังคมของตนเอง ความหมายของร่างกายที่ถูกสร้างขึ้นมามีเป้าหมายเพื่อใช้ทำบางสิ่งบางอย่าง  อาจกล่าวได้ว่าการสร้างความหมายต่อร่างกายที่มองเห็นได้ เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาภายใต้การปรับเปลี่ยนวิธีคิดบางอย่าง

บทความเรื่องนี้มีข้อสมมุติฐานว่า ร่างกายแบบธรรมชาติไม่มีจริง เพราะร่างกายทุกแบบล้วนเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นมาทั้งสิ้น  ร่างกายทุกแบบเป็นสิ่งที่ผ่านการแสดงซึ่งเต็มไปด้วยความคิดที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นร่างกายแบบเชื้อชาติ สีผิว เผ่าพันธุ์ ชนชั้น และเพศสภาพ  ร่างกายของเรา และประสบการณ์ที่เรามีต่อร่างกายเป็นสิ่งที่มีเงื่อนไข  ประเด็นที่น่าสนใจก็คือความเหลื่อมซ้อนกันระหว่างร่างกายที่เกิดจากแนวคิดทางการแพทย์กับแนวคิดทางศิลปะ ซึ่งถูกแสดงในเรื่องกายวิภาค  การแพทย์และศิลปะต่างใช้กายวิภาคเป็นตัวแสดงความหมายเหมือนกัน เนื่องจากกายวิภาคเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของกล้ามเนื้อหรือโครงกระดูก

บทความนี้จะพยายามทำความเข้าใจเรื่องโครงกระดูกมนุษย์ โดยจะศึกษาจากตัวอย่างความคิดของอัลบินัส ในเรื่อง Human Skeleton ซึ่งเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์ในปี ค..1747  เนื่องจากโครงกระดูกมนุษย์เป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความเป็นเพศชาย ซึ่งร่างกายของผู้ชายจะถูกแสดงออกโดยกายวิภาค  บทความนี้ต้องการรื้อทำลายคำอธิบายเกี่ยวกับภายวิภาค  คำอธิบายเหล่านั้นมิได้มีเพียงการสร้างในเชิงรูปธรรม แต่ยังเป็นการสร้างภาพตัวแทน บุคลิกท่าทาง สัดส่วน องค์ประกอบและรายละเอียดเกี่ยวกับร่างกาย  คำถามคือ มีทัศนะเกี่ยวกับความเป็นชายอะไรบ้างที่เกิดขึ้นจากความคิดทางการแพทย์และศิลปะ และทัศนะเหล่านั้นเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร  ในการศึกษาความคิดของอัลบินัสจึงต้องเปิดเผยให้เห็นรูปธรรมทางวัตถุที่ซ่อนอยู่

ความแตกต่างทางเพศโดยมีกายวิภาคเป็นเครื่องบ่งชี้ในช่วงศตวรรษที่16-17ยังเป็นสิ่งที่ไม่มีความสำคัญ   จนถึงศตวรรษที่ 18 นักคิดทั้งหลายก็เริ่มพิจารณาความแตกต่างของกายวิภาคระหว่างชายหญิง ซึ่งพบความต่างในอวัยวะเพศ   การแสดงความแตกต่างระหว่างชายหญิงนี้จะเห็นได้จากการเลือกเพศมาเพื่อใช้วาด และเพื่อผ่าดูอวัยวะภายใน  ร่างกายของเพศชายจะถูกเลือกมาผ่าตัดเพื่อศึกษาอวัยวะภายใน และศิลปินก็นำไปวาดในแบบกายวิภาคซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับอวัยวะ ระบบประสาทและเส้นเลือด  ในขณะที่ร่างกายของเพศหญิงจะถูกใช้เพียงเพื่ออธิบายความต่างทางเพศ เช่น อวัยวะสืบพันธุ์และมดลูก

ข้อสมมุติฐานที่ซ่อนอยู่ในทัศนะทางการแพทย์ก็คือร่างกายของเพศชายและหญิงไม่มีความต่างกัน และกายวิภาคของเพศชายสามารถแสดงให้เห็นทั้งความเป็นหญิงและชายได้เหมือนกัน โดยไม่ต้องแยกความต่างเรื่องการสืบพันธุ์     อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 สมมุติฐานนี้ก็ถูกวิจารณ์ว่าเป็นความคิดที่ยึดเอาความรู้ทางสรีระมาแบ่งแยกความแตกต่างทางเพศ และให้คุณค่าต่อเพศชายมากกว่า  ในปี ค..1775 แพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อ ปิแอร์ รุสเซ ออกมาอธิบายว่าเรื่องเพศมิอาจใช้อวัยวะเพียงแบบเดียวมาเป็นมาตรฐานได้ แต่ต้องแยกแยะให้เห็นความแตกต่างในรายละเอียด

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 โครงกระดูกของเพศชายจะใช้เป็นตัวแทนโครงกระดูกของมนุษย์  ภาพวาดสรีระของเพศหญิงเริ่มปรากฏครั้งแรกในปี ค..1583 โดยศิลปินชื่อแพล็ตเตอร์ และถูกวาดซ้ำใหม่โดยบูฮินในปี ค.. 1605 การศึกษารายละเอียดทางด้านสรีระของเพศหญิงจะเกิดขึ้นอย่างจริงจังในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18  ในปี ค..1774 สก็อต วิลเลียมส์ ฮันเตอร์ ได้พิมพ์ภาพร่างกายและอวัยวะของสตรีออกเผยแพร่ในชื่อได้เห็นคือการได้รู้ภาพวาดดังกล่าวเป็นภาพร่างกายตามธรรมชาติของสตรีซึ่งเป็นภาพตัวแทนของความจริงเกี่ยวกับสรีระของเพศหญิง  อาจกล่าวได้ว่าหลักฐานเชิงรูปธรรมเกี่ยวกับโครงกระดูกมนุษย์จะปรากฏในรูปแบบของภาพวาด ซึ่งกลายเป็นเครื่องมือทางการแพทย์สำหรับการพิสูจน์ความแตกต่างว่าผู้หญิงไม่เท่ากับชาย

ตลอดช่วงเวลายาวนานของผู้กำหนดความรู้ทางการแพทย์โดยไม่มีการตั้งคำถาม ทำให้โครงกระดูกของเพศชายกลายเป็นมาตรฐานในการกำหนดความถูกต้อง สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ โครงกระดูกของผู้หญิงจะกลายเป็นสิ่งที่อยู่นอกมาตรฐาน  ผู้มีอำนาจทางการแพทย์และศิลปะต่างยอมรับคุณค่าของโครงกระดูกเพศชาย โดยเฉพาะนักกายวิภาคชื่อเบอร์นาร์ด ซิกฟรีด อัลบีนัส ผู้ซึ่งมีอิทธิพลทางความคิดเกือบ 300 ปี   บทความเรื่องนี้ต้องการพิสูจน์ว่าภาพวาดสรีระของมนุษย์คือผลผลิตทางวัฒนธรรม ซึ่งร่างกายของเพศชายและความเป็นชายที่ถูกสร้างขึ้นคืออดุมคติของสังคม

ท่วงท่าและสัดส่วน

กายวิภาคคือการแสดงให้เห็นร่างกายของมนุษย์ และร่างกายก็จะถูกแบ่งซอยไปตามโครงสร้างของกระดูก  ภาพวาดของอัลบินัส เป็นภาพมนุษย์ที่ยืนตัวตรงราวกับว่ายังมีชีวิตอยู่  ท่าทางของมนุษย์ในภาพวาดจะมีความหมายหลายอย่าง ทั้งในเรื่องของการแสดงกิริยาอาการ เปิดเผยให้เห็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกาย โดยภาพวาดจะใช้เป็นตัวแทนของมนุษย์  รูปมนุษย์จะปรากฏอยู่ในภูมิทัศน์ เช่น ภาพที่ชื่อ The Bones of the Human Body’ บ่งบอกให้ทราบถึงท่วงท่าของมนุษย์ที่กำลังกางแขน มือขวาแบ มือซ้ายชี้ลงดิน

ท่วงท่ามนุษย์ในภาพวาดของอัลบีนัสเกิดมาจากความตั้งใจ โดยใช้ความคิดแบบชนชั้นปกครองซึ่งเป็นสถานภาพทางสังคมของอัลบีนัส ซึ่งต้องการเลียนแบบท่วงท่าของเทพอพอลโล่ซึ่งมีอยู่ในงานประติมากรรมสมัยกรีก  วิงเคลแมนน์แสดงความเห็นว่างานศิลปะในสมัยกรีกมีลักษณะเป็นอุดมคติ ภาพวาดของอัลบีนัสจะให้ร่างมนุษย์เป็นตัวแทนของเทพแห่งพระอาทิตย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของปัญญา ศีลธรรม และเสน่ห์ทางเพศ    เคนเน็ธ คาร์ก กล่าวว่ารูปปั้นเทพอพอลโล่เป็นรูปปั้นที่งดงามเนื่องจากสัดส่วนของร่างกายถูกสร้างมาอย่างเหมาะสม และเป็นความงามที่ผ่านการคำนวณมาแล้ว ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าอพอลโล่เป็นเทพแห่งความยุติธรรม และเอาชนะความชั่วร้ายทั้งหลาย ความยุติธรรมจึงดำรงอยู่ด้วยระบบเหตุผล

กายวิภาคของอัลบินัสจึงสะท้อนระบบคิดแบบเหตุผล ซึ่งปฏิเสธความโง่เขลาหรือสิ่งที่อยู่ในด้านมืด นั่นคือเพศหญิง การนำเสนอภาพลักษณ์แห่งท่วงท่าของชัยชนะหลังจากที่เทพอพอลโล่ปราบงูยักษ์สำเร็จแล้ว รูปปั้นของอพอลโล่ในความคิดของวิงเคลแมนน์จะเป็นตัวแทนของความงามและความดีอันสูงสุด  และสิ่งนี้ก็คือจินตนาการแห่งการเอาชนะคนอื่นและอารมณ์ปรารถนาที่ดีที่สุด  ในศตวรรษที่ 18 นักคิดอธิบายว่ารูปปั้นอพอลโล่คือสัญลักษณ์ของอำนาจที่สูงสุดซึ่งอยู่รวมกับความเปราะบาง สัญลักษณ์นี้จะถูกผลิตซ้ำในภาพลักษณ์ของโครงกระดูกเ ช่นเดียวกัน

เทพอพอลโล่ถูกสร้างขึ้นจากการคำนวณที่ถี่ถ้วน สัดส่วนต่างๆถูกต้องตามคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นธรรมความคิดแบบเรเนสซอง และอัลบีนัสก็เอามาใช้กับภาพโครงกระดูกของเขา  ความคิดเชิงกายวิภาคจะถูกนำไปรวมกับแนวคิดศิลปะในยุคกรีกซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักคิดแนวปรากฏการณ์นิยมในเนเธอร์แลนด์    อัลบินัสพูดถึงความคิดของเขาอย่างชัดเจนในหนังสือเรื่องโจรสลัด ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี ค..1749  อัลบินัสมีหลักคิด 2 ประการในการเลือกศพมาเป็นแบบวาดภาพ คือ หนึ่ง ศพนั้นต้องมีร่างกายที่สวยงาม โดยต้องไม่ดูอ่อนหวานเกินไปหรือแข็งทื่อเกินไป  ความคิดที่อัลบินัสใช้เพื่อเลือกร่างกายที่เหมาะสมจึงเป็นความคิดอุดมคติ มากกว่าการคำนึงถึงหลักวิทยาศาสตร์   หลักคิดอย่างที่สอง คือ เรื่องสัดส่วนร่างกายของเพศชายซึ่งทำให้เขาเลือกงานศิลปะในยุคกรีกมาเป็นแบบ

ความปรารถนาในสิ่งสวยงามที่ผ่านการเลือกสรรมาแล้ว จะมาพร้อมกับความปรารถนาในการตรวจวัดเชิงคณิตศาสตร์เพื่อสร้างสัดส่วนโครงกระดูกที่ถูกต้อง  วิธีการของอัลบินัสเป็นสิ่งที่แปลกใหม่และพิศดาร กล่าวคือ เขาจะใช้เชือกและรอกเพื่อจัดวางท่วงท่าของร่างกายของโครงกระดูก โดยจะให้โครงกระดูกยืนทิ้งน้ำหนักไปทางด้านขวา ซึ่งเป็นที่นิยมในงานศิลปะยุคกรีก  พร้อมกันนั้นจะใช้คนจริงๆยืนอยู่ข้างๆเมื่อเปรียบเทียบท่าทางที่ถูกต้อง  จากนั้นจึงจัดท่าทางของโครงกระดูกให้ดูเหมือนคนจริงๆโดยใช้เชือกรั้งและลิ่มตอก

ช่างแกะสลักภาพของอัลบินัสชื่อ เจน แวนดีลาร์ นอกจากนั้นอัลบินัสยังทำงานร่วมกับนักกายวิภาคและศิลปินหลายคน   แวนดีเลอร์ทำงานและอาศัยอยู่กับกับอัลบินัสเป็นเวลานาน ซึ่งเท่ากับต้องตกอยู่ใต้อำนาจของอัลบินัสอย่างเลี่ยงไม่ได้  กล่าวคือ แวนดีลาร์ต้องทำงานในพื้นที่ที่ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดเพื่อการวาดภาพที่ถูกต้องได้สัดส่วน  อัลบินัสต้องตรวจวัดความถูกต้องตลอดเวลา การทำงานของแวนดีลาร์จึงต้องอยู่ในสายตาของอัลบินัส  การวัดมาตราส่วนของร่างกายที่ถูกต้องของอัลบินัส ได้อาศัยการทำตารางสี่เหลี่ยมเพื่อตรวจสอบสัดส่วน  โดยนำตารางไปวางไว้ข้างหน้าโครงกระดูก และอีกตารางหนึ่งซึ่งเล็กกว่า 10 เท่า นำไปวางห่างจากโครงกระดูกประมาณ 4 ฟุต   ศิลปินจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และเปรียบเทียบสัดส่วนภาพในตารางใหญ่กับตารางเล็กให้ถูกต้อง

เทคนิคดังกล่าวเป็นการวาดภาพที่ต้องใช้สายตาสังเกตจากของจริงโดยมองผ่านช่องสี่เหลี่ยม เพื่อวาดสัดส่วนให้ถูกต้อง  วิธีดังกล่าวนี้จะทำให้ภาพออกมาได้สัดส่วนทั้งแนวตั้งและแนวนอน  วิธีนี้สะท้อนให้เห็นว่าอัลบินัสใช้ความคิดทางวิทยาศาสตร์ในการทำงาน  แต่วิธีนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของศิลปินที่วาดรูป อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษที่ 18 อัลบินัสก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีอิทธิพลในทางวิทยาศาสตร์ และเป็นผู้ที่สร้างมาตรฐานความงามแห่งยุคสมัย  ความงามของอัลบินัสเกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นความงามที่สมบูรณ์แบบ ลงตัว ได้สัดส่วน และความงามที่ได้รับการยอมรับก็คือความงามของเพศชาย   สัดส่วนของโครงกระดูกที่ถูกสร้างตามการคำนวณแล้วก่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบในอุดมคติ กล่าวคือขนาดของศรีษะจะต้องมีขนาด 1 ใน 8 ของสัดส่วนของร่างกาย

โครงกระดูกของอัลบินัส ถูกจัดวางด้วยภาพ  เมื่อภาพถูกนำไปพิมพ์ก็อาจทำให้สัดส่วนของโครงกระดูกคลาดเคลื่อนไปได้  ภาพพิมพ์โครงกระดูกจึงไม่เป็นที่สนใจทางการแพทย์เท่ากับรูปหล่อสามมิติซึ่งแสดงสัดส่วนอวัยวะภายใน เมื่อรูปหล่อได้รับความนิยมมากขึ้น ภาพพิมพ์ก็จะไม่ได้รับความนิยมในวงการศึกษาแพทย์อีกต่อไป   ในทางปฏิบัติภาพพิมพ์กายวิภาคของอัลบินัสไม่เป็นที่ต้องการของนักศึกษาแพทย์ แต่กลายเป็นที่นิยมในหมู่แพทย์ ขุนนาง และนักสะสม  ถึงแม้ว่าภาพพิมพ์ของอัลบินัสจะให้รายลเอียดเกี่ยวกับสัดส่วนและอวัยวะทางร่างกายของมนุษย์ แต่สิ่งนี้ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของนักเรียนแพทย์เท่าใดนัก  ภาพของอัลบินัสจึงเป็นเพียงงานศิลปะที่แปลกประหลาด และเป็นผลพวงของระบบอุดมคติ

นอกจากนั้นภาพกายวิภาคของอัลบินัสมิได้มีความถูกต้องทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นแค่เพียงภาพของโครงกระดูกและร่างเปลือยของผู้ชาย  ภาพของอัลบินัสจึงเป็นงานศิลปะประเภทหนึ่งซึ่งสะท้อนมุมมองและโลกทัศน์ที่ผู้ชายมีบทบาทสำคัญ  ภาพโครงกระดูกของอัลบินัสบ่งบอกถึงความภูมิใจและความมั่นใจในตัวเอง ทั้งในด้านที่เป็นเรือนร่างและความรู้ กล่าวคือผู้ชายในยุคนั้นพอใจกับการควบคุมตัวเองและควบคุมสภาพแวดล้อมรอบๆตัว  อำนาจในการควบคุมสิ่งต่างๆของผู้ชายคือความคิดที่ถ่ายทอดออกมาในภาพพิมพ์ซึ่งเกิดจากฝีมือของศิลปินและนักกายวิภาค  สิ่งนี้คือกระบวนการทำให้ร่างกายเป็นวัตถุซึ่งมนุษย์สามารถควบคุมและมีอำนาจเหนือธรรมชาติ  ธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่ถูกควบคุม มีระเบียบกฎเกณฑ์ สมบูรณ์แบบ และบริสุทธิ์
อย่างไรก็ตามการสร้างภาพพิมพ์แกะสลักต้องอาศัยความถูกต้องแม่นยำ เพราะถ้าเกิดข้อผิดพลาดแล้วจะแก้ไม่ได้  การแกะสลักอาจเปรียบเหมือนการผ่าตัด มีดที่ใช้แกะสลักอาจเหมือนมีดผ่าตัด  ลวดลายที่เกิดจากการแกะสลักคือภาพตัวแทนของวัตถุซึ่งมีนัยยะของความสะอาดและแจ่มชัด แต่ผู้ชมภาพจะไม่เห็นกระบวนการทำงานของศิลปินและขั้นตอนต่างๆซึ่งเต็มไปด้วยความเลอะเทอะเปรอะเปื้อน  ภาพพิมพ์แกะสลักจึงเป็นการทดสอบความอ่อนแอของมนุษย์ ซึ่งมีทั้งความหวาดกลัวต่อเรือนร่างและการเสื่อมสภาพของร่างกาย

รูปปั้นอพอลโล่คือจำลองของความคิดเรื่องอำนาจของผู้ชาย และเป็นตัวแทนในอดุมคติของผู้ชาย  ส่วนภาพโครงกระดูกของอัลบินัสเป็นภาพตัวแทนของความคิดที่ตอกย้ำอำนาจของผู้ชาย  ในประวัติศาสตร์ความคิดของตะวันตก อพอลโล่คือตัวแทนของความเป็นอมตะ ต่อมาสิ่งนี้จะถ่ายทอดไปสู่พระเยซูในศาสนาคริสต์  ภาพของอัลบินัสจึงเป็นมรดกทางความคิดดังกล่าวและเป็นตัวแทนของอำนาจผู้ชายแบบอดุมคติ  ถ้าพิจารณาในรายละเอียดจะเห็นว่าภาพโครงกระดูกจะมีความเด่นชัดและสง่างามบดบังทัศนียภาพที่อยู่ฉากหลัง ภูมิทัศน์ในภาพจะมีความต่ำต้อยกว่าหรืออยู่ต่ำกว่าโครงกระดูก ซึ่งหมายถึงมนุษย์สูงส่งและประเสริฐกว่าสิ่งใดๆในโลก

ท่าทางโครงกระดูกของอัลบินัสบ่งบอกถึงความมีอำนาจของผู้ชาย เช่นเดียวกับท่าทางของรูปปั้นอพอลโล่ในยุคกรีกซึ่งอัลบินัสเชื่อว่าเป็นท่วงท่าที่สมบูรณ์แบบและเป็นธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงผู้ชายที่มีอำนาจต้องแสดงท่วงท่าเช่นนี้  ภาพพิมพ์ของอัลบินัสยังเป็นเครื่องมือสำหรับการแสดงอำนาจของศิลปินที่หยิบยืมความคิดของนักกายวิภาคมาใช้ จนก่อให้เกิดภาพในอุดมคติของเพศชายที่เป็นที่ปรารถนาของสังคมในยุคนั้น จนกระทั่งศิลปินฝรั่งเศสก็นำท่วงท่านี้มาปั้นรูปเหมือนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14  รวมทั้งรูปปั้นของผู้ดี ขุนนาง นักการเมืองทั้งหลายก็นิยมปั้นรูปตัวเองหรือวาดภาพตัวเองด้วยท่าทางของอพอลโล่ทั้งสิ้น 

ภาพพิมพ์ของอัลบินัสมิใช่อุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนในวิชากายวิภาคอย่างแท้จริง  เนื่องจากนักกายวิภาคโต้แย้งว่าภาพของอัลบินัสมีภูมิทัศน์ประกอบอยู่ด้วยซึ่งทำให้เกิดความบิดเบือนความจริง  อัลบินัสอธิบายว่าภาพพิมพ์ของเขาจำเป็นต้องมีฉากหลังที่เป็นภูมิประเทศ เพราะทำให้ดูสวยงามมีมิติ และช่วยทำให้โครงกระดูกโดดเด่นขึ้นมา   ศิลปินของอัลบินัสที่วาดภาพภูมิทัศน์คือเจน แวนดีลาร์ซึ่งเป็นนักวาดภาพต้นไม้ ช่วยทำให้ภาพของอัลบินัสสมจริงมากขึ้น  แนวคิดที่วาดภาพภูมิทัศน์ประกอบรวมกับภาพโครงกระดูกมนุษย์มาจากความเชื่อของนักกายวิภาคที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาตินิยม ซึ่งสะท้อนวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์และการค้นหาความจริงที่เที่ยงแท้ ภาพของอัลบินัสจึงสะท้อนโลกทัศน์ของวิทยาศาสตร์ที่เชื่อว่าโลกมีระเบียบ มีเหตุผลและถูกควบคุมด้วยมนุษย์  อำนาจของวิทยาศาสตร์ที่ปรากฎในภาพของอัลบินัสถูกแสดงออกด้วยความสามารถทางศิลปะของแวนดีลาร์ซึ่งมีความรู้ทางพฤษศาสตร์  นอกจากนั้นภาพของอัลบินัสยังสะท้อนความคิดเกี่ยวกับพระเยซูโดยอาศัยสัญลักษณ์ของต้นไม้ที่มีหนาม

ลูดมิลล่า จอร์ดาโนว่า วิจารณ์ผลงานของอัลบินัสว่าเป็นการนำความตายมาเปิดเผยเพื่อที่จะทำให้ทุกๆคนเห็นว่าชีวิตคืออะไร แต่ภาพของอัลบินัสยังแฝงไว้ด้วยความคิดที่คนยังนึกไม่ถึง นั่นคือความคิดเรื่องชายเป็นใหญ่ และตอกย้ำอำนาจของผู้ชายที่เหนือกว่าผู้หญิงในช่วงศตวรรษที่ 18 ของสังคมตะวันตก

แปลและเรียบเรียงโดย  ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ จาก Anthea Callen. “Ideal Masculinities An Anatomy of Power.” , in Nicholas Mirzoeff (ed.) The Visual Culture Reader. Routledge, London. 1998. Pp.603-615.

Gay Male Video Pornography



Gay Male Video Pornography

            ถึงแม้ว่าภาพโป๊สำหรับเกย์จะมีสัดส่วนไม่มากนักในตลาดภาพโป๊ทั่วไป ( บางคนคาดคะเนว่าธุรกิจภาพโป๊ของเกย์มีมูลค่าประมาณหนึ่งในสาม หรือ ครึ่งหนึ่งของการค้าภาพโป๊ทั้งหมด 2.5 ล้านดอลล่าส์) แต่ในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมายังไม่มีการถกเถียงเกี่ยวกับภาพโป๊ อาจจะเป็นเพราะว่าผู้ที่ถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นกลุ่มเฟมินิสต์ที่กล่าวหาว่าภาพโป๊ทำให้ผู้หญิงเสื่อมค่า จนทำให้มองข้ามภาพโป๊ของเกย์ไป อย่างไรก็ตามความเข้าใจเกี่ยวกับภาพโป๊มิได้มาจากคำอธิบายของรักต่างเพศเพียงอย่างเดียว และการศึกษาภาพโป๊ของเกย์ก็อาจช่วยให้ขยายความรู้เกี่ยวกับความหมายของภาพโป๊ได้เช่นกัน
            สิ่งที่ทำให้ภาพโป๊แตกต่างจากการแสดงออกชนิดอื่นๆ ก็คือการปลุกเร้ากระตุ้นอารมณ์ทางเพศ      ริชาร์ด ไดเยอร์ เคยอธิบายว่าเป้าหมายของภาพโป๊ก็คือการทำให้ถึงจุดสุดยอดทางเพศ ซึ่งจะมีสองสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกันคือกิจกรรมทางเพศในภาพโป๊กับกิจกรรมทางเพศที่ผู้ดูภาพโป๊ทำตามสิ่งที่เห็น  ภาพโป๊จึงอยู่ในฐานะที่เป็นสิ่งตรงข้ามกับการแสดงออกทางเพศในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งผู้สร้างและผู้ชมต่างเป็นเครื่องมือของการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ  การแสดงภาพโป๊แบบโจ่งครึ้มนี้มีมานานแล้ว อาจย้อนกลับไปถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่นภาพของเทพเจ้าและเทพธิดาในยุคกรีกโบราณ แต่ภาพโป๊สมัยหลังที่ปรากฏในรูปสื่อเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19    แม้ว่าความตั้งใจของการสร้างภาพโป๊ จะเป็นการทำเพื่อตอบสนองอารมณ์ทางเพศแบบผู้หญิงผู้ชายในวัฒนธรรมของรักต่างเพศ  แต่การนำเสนอภาพและเรื่องเล่ากามารมณ์เกี่ยวกับคนรักเพศเดียวกันก็ยังคงพบเห็นได้ในประวัติศาสตร์
            ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ภาพโป๊สำหรับเกย์ได้พัฒนาขึ้นและกลายเป็นแรงพลังขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมภาพโป๊และวัฒนธรรมเกย์เติบโตขึ้น  ความเข้าใจประวัติศาสตร์ภาพโป๊เกย์ในภาพยนตร์และวีดิโอคือสิ่งที่สำคัญต่อการทำความเข้าใจปรากฎการณ์วีดิโอเกย์ในปัจจุบัน  คุณภาพของภาพโป๊เกย์อาจดูได้จากวิวัฒนาการของท่วงท่าและกิริยาอาการต่างๆที่พบในภาพยนตร์โป๊สำหรับเกย์   พัฒนาการและความก้าวหน้าในการสร้างภาพโป๊ของเกย์อาจเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นอำนาจทางการเมืองที่กดขี่เกย์ ในขณะที่เกย์ออกมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิและทำให้สังคมยอมรับมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 70  แต่กลุ่มเกย์ในอุตสาหกรรมภาพโป๊ก็กำลังออกมาทำธุรกิจเช่นเดียวกัน  ในทำนองเดียวกัน การใช้ถุงยางอนามัยในภาพยนตร์เกย์เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ เนื่องจากสถานการณ์โรคเอดส์ในทศวรรษที่ 80   ภาพโป๊สำหรับเกย์ยังคงสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงอุดมคติเกี่ยวกับความงามและความเป็นชายในวัฒนธรรมเกย์ด้วย  เนื่องจากกิจกรรมทางเพศที่พบเห็นในภาพโป๊สำหรับเกย์เป็นเครื่องแสดงให้เห็นพื้นฐานที่ต่างกันซึ่งสร้างอัตลักษณ์ของโฮโมเซ็กช่วล ความนิยมภาพโป๊ของชาวเกย์อาจเปรียบเสมือนการยืนยันถึงการมีอยู่ของวัฒนธรรมและชีวิตแบบเกย์
            บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ การผลิตภาพโป๊เกย์ และเนื้อหาที่เกิดขึ้นในวีดิโอโป๊ของเกย์  วีดิโอคือสิ่งที่นำมาศึกษาในที่นี้เพราะว่าเป็นสื่อของภาพโป๊ที่ได้รับความนิยมมากและหมู่เกย์  นิตยสารหลายฉบับในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาล้วนมีโฆษณาของวีดิโอ มีการนำภาพของนายแบบในวีดิโอหรือภาพฉากต่างๆในวีดิโอมาเผยแพร่  นิตยสารเช่น Skinflicks และ Unzipped นำเสนอวีดิโอโป๊อย่างเข้มข้น(มีการวิจารณ์เนื้อหาของวีดิโอ และสัมภาษณ์คนในวงการผลิตวีดิโอเกย์)  ภาพโป๊ของเกย์ในยุคปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องราวของชีวิตที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
            บทความนี้มีข้อมูลจากการศึกษาเอกสารงานวิจัยเกี่ยวกับภาพโป๊เกย์ และบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการผลิตวีดิโอในทศวรรษที่ 70, 80 และ 90  นอกจากนั้น บทความนี้จะอธิบายพัฒนาและวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของวีดิโอ รวมทั้งจะตรวจสอบวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในวงการผลิตวีดิโอเกย์ และแยกแยะว่าอะไรคือคุณลักษณะของวีดิโอเกย์ และอะไรคือหน้าที่ของวีดิโอประเภทนี้

ประวัติศาสตร์


            เมื่อมีการประดิษฐ์ภาพยนตร์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นักถ่ายภาพโป๊ก็เริ่มมีโอกาสใช้เทคโนโลยีภาพยนตร์เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร  ในขณะที่ภาพยนตร์ของรักต่างเพศถูกสร้างขึ้นมากในทศวรรษที่ 1890 แต่ภาพยนตร์ที่ยังหลงเหลือให้ดูได้คือเรื่องของเกย์ที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1920    อัล ดี ลอร่า และเจอรัลด์ แร็บกิ้นกล่าวถึงความสัมพันธ์แบบโฮโมเซ็กช่วลในภาพยนตร์ฝรั่งเศส 2 เรื่อง คือ The Chiropodist และ Je Verbalise  งานวิจัยของโธมัส โว้ก ชี้ให้เห็นว่าภาพยนตร์ประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์จะมีเนื้อหาแบบเกย์ โดยเสนอเรื่องราวชีวิตของไบเซ็กช่วล   ภาพยนตร์ที่พูดถึงชีวิตเกย์โดยตรงเรื่องแรกคือเรื่อง Three Comrades สร้างในช่วงทศวรรษที่ 1950  ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์สั้นที่เล่าถึงพฤติกรรมของเพศชาย 3 ลักษณะ ซึ่งอธิบายด้วยประโยคที่ว่า เฮงซวย ฉันขยะแขยงเหลือเกิน ฉันไม่เอาด้วยประโยคนี้อาจเป็นคำพูดของเกย์และของผู้ชายทั่วไป
            ในทศวรรษที่ 1960 ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับเซ็กซ์ของเกย์ยังคงเป็นภาพกึ่งเปลือย หรือเป็นเรื่องของมวยปล้ำที่ผลิตออกมาเพื่อดูภายในบ้านเท่านั้น  อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์ที่เปิดเผยเซ็กซ์อย่างเต็มที่เริ่มเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970   โธมัส โว้กศึกษาภาพยนตร์ที่มีแต่นักแสดงชายล้วน พบว่ามีประมาณ 100 เรื่อง นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 60 เป็นต้นมา (จำนวนจะแตกต่างจากช่วงต้นที่เริ่มมีภาพยนตร์) แต่ภาพยนตร์ส่วนใหญ่สร้างมาจากมือสมัครเล่น
            ประเด็นเกี่ยวกับเกย์มิได้เป็นประเด็นที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์กระแสหลักในช่วงทศวรรษที่ 60  ผู้ชมที่เป็นชายหญิงจะโจมตีภาพยนตร์ของเดวิด ไฟรด์แมนซึ่งเสนอภาพนู้ด ในขณะที่ผู้ชมที่เป็นเกย์จะมีโอกาสดูภาพยนตร์นอกกระแส หรือหนังใต้ดิน   ผู้สร้างหนังใต้ดินที่สำคัญในยุค 1960 มาจากนิวยอร์ค และส่วนใหญ่เป็นเกย์ เช่นเคนเน็ธ แองเกอร์ และแอนดี้ วอร์โฮล   หนังของผู้สร้างเหล่านี้ถูกจัดให้อยู่ในประเภท Avant-gard และมีเนื้อเรื่องที่เกี่ยวกับโฮโมเซ็กช่วล   ภาพยนตร์ของแองเกอร์เรื่อง Scorpio Rising(1963) เหมือนกับหนังในจินตนาการ  เป็นเรื่องราวของแก๊งมอเตอร์ไซค์ที่มีพฤติกรรมแบบโฮโมเซ็กช่วล  ภาพยนตร์ของวอร์โฮลเรื่อง My Hustler (1965) เป็นเรื่องเกี่ยวกับเกย์สาว 2 คนที่ต่อสู้โสเภณีชายรูปงามคนหนึ่ง  สิ่งที่ทำให้ภาพยนตร์สองเรื่องนี้เป็นที่สนใจของผู้ชมเกย์ก็คือการเปิดเผยให้เห็นเรือนร่างที่เย้ายวนของเพศชายโดยอาศัยศิลปะการนำเสนอแบบบ Avant-gard (โดยเฉพาะผู้ชมที่ยังไม่เปิดเผยว่าตนเองเป็นเกย์)   ริชาร์ด ไดเยอร์กล่าวว่า ภาพยนตร์ใต้ดินมักจะเป็นแม่แบบที่สำคัญของการเกิดภาพโป๊สำหรับเกย์ในยุค 70
            การเปลี่ยนแปลงในเรื่องกฎหมายมีผลทำให้วงการภาพโป๊สำหรับเกย์ขยายตัวมากขึ้น  จอห์น ดีเอมิลิโอ และ เอสเทลล์ ฟรีดแมน อธิบายให้เห็นถึงการออกกฎหมายของศาลสูงในสหรัฐในช่วงปี ค..1957-1967 ซึ่งมีผลให้เกิดการสร้างภาพยนตร์ที่เปิดเผยเซ็กซ์ได้  กรณีพิพาทในปี ค..1957 หรือคดีของร็อธกับรัฐบาลอเมริกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำผิดของผู้จำหน่ายหนังสือโป๊ กรณีนี้นำไปสู่การถกเถียงเรื่อง สิ่งลามกเลวทรามกับ เซ็กซ์ซึ่งมีความหมายต่างกัน   ในปี ค..1967 หนังสือชื่อ Fanny Hill ถูกกฎหมายตัดสินว่าไม่ใช่หนังสือลามก เนื่องจากมิได้ทำให้สังคมเสื่อมทราม  ถึงแม้ว่ากรณีพิพาทดังกล่าวนี้จะเป็นการเปิดพรมแดนเรื่องภาพโป๊  แต่ภาพยนตร์เซ็กซ์ที่เติบโตมากในช่วงต้นทศวรรษที่ 70 กลับได้รับการยอมรับจากศาล โดยมีภาพยนตร์จากสวีเดนเรื่อง I Am Curious(Yellow) ในปี ค..1969 เป็นผู้นำในแนวทางอีโรติก ซึ่งต่อมาเกิดเทศกาลหนังอีโรติกหลายครั้ง  แนวอีโรติกหรือยั่วกามารมณ์กลายเป็นแนวที่ได้รับความนิยมในสื่อท้องตลาด โดยเฉพาะผู้สร้างภาพยนตร์ในฮอลลีวู้ดได้นำแนวอีโรติกไปใช้ เช่นเรื่อง Midnight Cowboy เป็นเรื่องราวชีวิตของโสเภณีชาย  ในขณะที่ฮอลลีวู้ดกำลังก้าวไปสู่ประเด็นเรื่องเพศแบบใหม่ แต่อุตสาหกรรมภาพยนตร์เซ็กซ์กลับเปลี่ยนแนวทางตัวเองไปสู่การเปิดเผยเรื่องเพศแบบไม่ปิดบัง  โว้กอธิบายว่าการสร้างหนังโป๊มีความก้าวหน้าและมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งมาจากสภาพแวดล้อมและกฎหมายที่เอื้ออำนวยในช่วงปี ค..1969-1970 ทำให้เกิดอาชีพต่างๆในวงการหนังโป๊ตามมา และภาพยนตร์โป๊ถูกสร้างและเผยแพร่ออกไปมากมาย
            จอห์น เบอร์เกอร์ ศึกษาการแสดงออกทางเพศแบบเปิดเผยเชิงพาณิชย์ในหนังโป๊ของเกย์ ซึ่งสามารถย้อนกลับไปถึงปี ค..1968  โรงภาพยนตร์ปาร์คเธียเตอร์ในเมืองลอสแอนเจลีส จัดฉายหนังของแพท ร็อคโคเรื่อง Sex and the Single และหนังของบ๊อบ ไมเซอร์ (ผู้ก่อตั้งบริษัท Athletic Model Guild porn production company) รวมทั้งฉายหนังใต้ดินแนว Avant-gard ของเคนเน็ธ แองเกอร์ และยีน ค็อคโต  อย่างไรก็ตาม ยุคทองของหนังโป๊จะอยู่ในช่วงต้นทศวรรษที่ 70 ภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมมากคือเรื่อง Deep Throat  หนังเรื่องนี้สร้างเสร็จภายใน 6 วัน ด้วยงบประมาณ 24,000 ดอลล่าส์ เปิดฉายครั้งแรกในนิวยอร์คในเดือนมิถุนายน ปี ค..1972 และเก็บรายได้ในอาทิตย์แรกสูงถึง 33,033 ดอลล่าส์  สิ่งที่ทำให้หนังเรื่อง Deep Throat ต่างไปจากหนังโป๊ยุคแรกๆก็คือมีนักวิจารณ์ที่มีชื่อหลายคนได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นจูดิธ คริสต์, วินเซ็นต์ แคนบี้ ,แอนดรูว์ ซาร์ริส และคนอื่นๆ  ในช่วงปลายปี ค..1973 หนังเรื่อง Deep Throat ก็กลายเป็นหนังที่มีรายได้ดีในสิบอันดับแรกของปี
            เมื่อหนังโป๊เริ่มเปิดเผยมากขึ้น และหนังเรื่อง Deep Throat กลายเป็นตัวแทนของกามารมณ์  ศาลในช่วงทศวรรษที่ 1970 อนุญาตให้รัฐบาลท้องถิ่นมีกฎหมายของตัวเองเพื่อควบคุมการเผยแพร่สื่อลามก ซึ่งทำให้หนังโป๊ถึงจุดเสื่อม  การสร้างภาพยนตร์เรตเอ็กซ์ของฮอลลี้วู้ดในยุค 60 ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน แต่ได้รับความสนใจจากนักสร้างหนังโป๊แนวใหม่ อุตสาหกรรมหนังโป๊เริ่มผลิตหนังที่ตีตรา “XXX” ซึ่งหมายถึงภาพยนตร์แนวโป๊เปลือย
            ภาพยนตร์ Deep Throat เปรียบเสมือนเป็นปรากฏการณ์ของกามารมณ์ที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย ซึ่งจริงๆแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังโป๊ของเกย์ยุคแรก นั่นคือเรื่อง The Boys in the Sand  ถึงแม้ว่าหนังเรื่องนี้จะมีคนดูน้อยกว่า แต่เมื่อออกฉายในเดือนธันวาคม ปี ค..1971 ที่โรงภาพยนตร์บนถนนสาย 55 ในนิวยอร์ค รับรายได้ไปประมาณ 8 แสนดอลล่าส์  ภาพยนตร์เรื่องนี้คือหนังเกย์ที่ทำให้เกิดหนังโป๊สำหรับชายหญิงตามมา  The Boys in the Sand เป็นผลงานกำกับของเวคฟีลด์ พูล  ดาราในหนังเรื่องนี้คือ เคซีย์ โดโนแวน หรือรู้จักในนาม คัล คูลเวอร์ ซึ่งกลายเป็นดาราเกย์ที่มีชื่อในเวลาต่อมา  The Boys in the Sand คือภาพยนตร์ที่เกย์รอคอยและฉีกแนวไปจากหนังเกย์ใต้ดินในยุค 60
            The Boys in the Sand ชี้ให้เห็นศักยภาพเชิงการตลาดของหนังโป๊เกย์  หนังเรื่องต่อมาของพูลคือเรื่อง Bijou(1972) เป็นเรื่องราวของผู้ชายคนหนึ่งที่ค้นพบว่าตนเองเป็นเกย์  ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้เทคนิคทางภาพยนตร์หลายอย่างและเป็นการผสมผสานเทคนิคแบบหนังใต้ดินเข้ากับแนวหนังโป๊เกย์ยุคแรกๆ  การผลิตหนังโป๊เกย์ขยายตัวมากในยุค 70 มีบริษัทผลิตหนังเกิดขึ้นหลายแห่ง เช่น บริษัทจากัวร์ และพีเอ็มโปรดักชั่น ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตหนังโป๊แนวฮาร์ดคอร์และส่งฉายตามโรงหนังเกย์ เมื่ออุตสาหกรรมหนังโป๊ขยายตัวขึ้น และซับซ้อนขึ้น หนังโป๊ก็กลายเป็นธุรกิจมากขึ้น  หนังโป๊เกย์ก็สูญเสียแรงบันดาลใจ และความเป็นหนังศิลปะเหมือนยุคแรกๆ  จนกระทั่งหนังโป๊เกย์ไม่ต่างจากหนังโป๊ของชายหญิง ซึ่งเสนอแต่ภาพโปีเปลือยอย่างไร้รสนิยมและความหมาย
            ในปี ค..1981 มีร้านหนังสือโป๊เกิดขึ้นประมาณ 20,000 แห่ง และโรงหนังโป๊ประมาณ 800 แห่งในสหรัฐ  อย่างไรก็ตาม ในยุค 80 ซึ่งเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นทำให้ผู้ชมสามารถซื้อวีดีโอมาชมที่บ้านได้ หนังโป๊จึงแพร่หลาย  เมื่อถึงทศวรรษที่ 1980 เครื่องเล่นวีดีโอมีราคาถูกลงมากทำให้ผู้ชมหันมาดูวีดีโอมากกว่าชมภาพยนตร์ในโรงหนัง  ผู้สร้างหนังจึงผลิตวีดีโอเพื่อป้อนตลาดที่เป็นผู้ชมในบ้าน ซึ่งทำให้เกิดลูกค้าจำนวนมหาศาล
            หนังโป๊เกย์กลายเป็นวีดีโอในทศวรรษที่ 80  วีดีโอเกย์รุ่นแรกๆจึงมาจากภาพยนตร์สั้นสำหรับเกย์ หรือสารคดีแนวฮาร์ดคอร์  บริษัทฟัลคอนวีดีโอแพ็คส์นำหนังสั้นในยุค 70-80 มาผลิตวีดีโอจำหน่าย  หนังในยุคต้น 70 เป็นหนังของมือสมัครเล่นที่ใช้งบประมาณน้อย ส่วนหนังในยุค 80 เป็นผลงานของนักสร้างและนักลงทุนมืออาชีพและใช้งบประมาณมาก ซึ่งทุนผลิตหนังโป๊สำหรับชายหญิงด้วยแต่สนใจที่จะมาทำหนังโป๊สำหรับเกย์ด้วย  บริษัทผลิตหนังโป๊เกย์ เช่น บริษัทวิวิด หรือ ฮีส เป็นบริษัทในเครือของนักลงทุนที่สร้างหนังโป๊ชายหญิง  ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 การสร้างหนังเพื่อเป็นวีดีโดยตรงเป็นสิ่งที่ทำกันอย่างแพร่หลาย และในช่วงเดียวกันนี้โรงหนังโป๊เกย์ก็ค่อยๆปิดตัวเองไป (รวมทั้งโรงหนังโป๊ชายหญิงด้วย)
            ภาพยนตร์โป๊สำหรับเกย์ในยุคบุกเบิกในช่วงทศวรรษที่ 1970 มักจะนายแบบใครก็ได้ที่พร้อมจะเล่น  ตัวอย่างเช่น หนังจากค่ายพีเอ็มโปรดักชั่น นำดาราหล่อสองคนมาแสดง (อีริค ไรอัน และแจ็ค แรงเลอร์) ซึ่งทั้งคู่ดูเหมือนคนธรรมดาทั่วไป    แต่ต่อมาในทศวรรษที่ 80  บริษัทหนังโป๊ เช่น โคลท์ได้ผลิตหนังเงียบขนาดสั้นโดยใช้นายแบบหล่อและมีกล้ามเป็นมัดๆมาแสดง แต่ผู้สร้างหนังโป๊ในยุค 80 มักจะไม่ชอบนายแบบที่ดูเหมือนคนธรรมดาตามท้องถนน  เพราะเมื่อต้องแสดงฉากร่วมรัก นักแสดงต้องมีเรือนร่างที่สวยงามเพื่อดึงดูดลูกค้าที่เป็นเกย์
            วีดิโอเกย์ในทศวรรษที่ 1980 มีนักแสดงที่เป็นหนุ่มๆ รูปร่างเพรียวและอ่อนหวาน ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ตรงข้ามกับดาราชายในทศวรรษที่ 1970 และต่างไปจากนักเพาะกาย  ดาราหนังโป๊ในยุค 80 มีผิวที่เนียนเรียบไม่มีขน มีรูปร่างเหมือนนักกีฬาว่ายน้ำ  และอายุของดาราส่วนใหญ่จะไม่เกิน 22-23 ปี  ความเป็นหนุ่มจึงสิ่งที่ใช้หาเงินได้  ผู้กำกับอย่างวิลเลียมส์ ฮิกกิ้นส์ และแม็ตต์ สเตอร์ลิ่ง คือผู้ที่สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับดาราหนังโป๊ของเกย์ในทศวรรษที่ 1980  ผลงานของฮิกกิ้นส์ เช่น Sialor in the Wild ในปี ค..1983 จนถึงเรื่อง Big Guns ในปี ค..1987 คือตัวอย่างหนังโป๊เกย์ที่แตกต่างจากยุค 70  หนังของฮิกกิ้นส์จะใช้ดาราหนุ่มที่มีรูปร่างสมส่วน มีกล้ามพองาม ผิวเนียน ไม่มีขน และเป็นนักแสดงอาชีพ  ผลงานของแม็ตต์ สเตอร์ลิ่ง เช่น เรื่อง The Bigger the Better ในปี ค..1984 ใช้นักแสดงที่มีหน้าตาอ่อนเยาว์ แต่จะมีมัดกล้าม  การใช้ดาราที่หนุ่มๆยังพบในสิ่งพิมพ์ที่โป๊เปลือย  จากการศึกษาของเดวิด ดันแคน พบว่าในช่วงทศวรรษที่ 1980 มีประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ที่ดาราหนังโป๊จะมีอายุประมาณ 20 ปี ส่วนในทศวรรษที่ 1970  ภาพนายแบบครึ่งหนึ่งจะมีอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป
            วีดิโอโป๊ในยุค 1980 จะมีการแยกประเภทดาราเป็นสองพวก คือ พวกที่เล่นบทบาทเป็น ฝ่ายรุกและพวกที่แสดงบทบาทเป็น ฝ่ายรับ   ดาราที่แสดงเป็นฝ่ายรุก คือผู้ที่สอดใส่องคชาติเข้าทวารหนักผู้ที่เป็นฝ่ายรับ  ดาราที่เป็นฝ่ายรุกจะไม่ค่อยใช้ปากอมอวัยวะเพศของฝ่ายรับเท่าใดนัก  แต่ก็มีข้อยกเว้น  หนังของจอห์น ซัมเมอรืเรื่อง Two Handfuls   คือตัวอย่างที่นักแสดงคนหนึ่งชื่อไบรอัน แม็กซันให้บริการทางเพศกับชาย 3 คน ฉากสุดท้ายของหนังแม็กซันจะใช้มือสำเร็จความใคร่ให้ตัวเอง ผู้ชมสามารถเดาได้ว่าดาราคนไหนจะสวมบทบาทอะไร  ผู้ที่เป็นฝ่ายรุกมักจะมีกล้าม ผิวสีน้ำตาล และมีหุ่นเหมือนนักกีฬา นอกจากนั้นยังมีองคชาติใหญ่กว่าฝ่ายรับ  ดาราที่เป็นฝ่ายรุกจะมีสถานะพิเศษในวงการ  ดาราหนังโป๊ที่โด่งดังในยุค 1980 จึงมักจะเป็นฝ่ายรุก
            บางคนอาจสงสัยว่าสื่อที่เป็นหนังโป๊ คือสิ่งที่เยาะเย้ยข้อห้ามทางสังคมที่มีต่อเรื่องเพศ ซึ่งหนังโป๊อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับข้อห้ามนี้เลยก็ได้  หากแต่หนังโป๊ของเกย์และชายหญิงไม่มีกฎตายตัว  บทบาททางเพศในหนังโป๊ (เช่น ฝ่ายรุก ฝ่ายรับ ซึ่งนิยามจากลักษณะทางกายภาพ) เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรมเนียมของการสร้างหนังโป๊  ฉากการ ถึงจุดสุดยอดคือฉากที่สำคัญอีกฉากหนึ่ง  กฎของการสร้างหนังโป๊อาจเป็นเรื่องของ การที่ดาราชายจะต้องหลั่งน้ำอสุจิออกมาต่อหน้ากล้อง  ต้องทำให้เห็นการแข็งตัวของอวัยวะเพศ และต้องลูบไล้เรือนร่างของคู่ขา  กฎอีกข้อหนึ่งอาจเป็น บุคคลที่สามที่มองเห็นการร่วมรักของคนสองคนจะต้องถอดเสื้อผ้า และเข้ามามีเซ็กซ์กับคนทั้งคู่

หนังโป๊ของเกย์ในยุคร่วมสมัย


2/27/2556

From Gay Life to “Gay Lifestyle”



จาก ชีวิตเกย์ สู่ "ไลฟสไตล์เกย์"
From Gay Life to “Gay Lifestyle”

            ผู้ที่เป็นเกย์มิได้สร้างตัวตนมาจากการบริโภคสินค้าเพียงเหมือนกันหมด  ในหนังสือของธอร์สไตน์ วีเบล็น เรื่อง The Theory of the Leisure Class  (1899) อธิบายว่ารูปแบบการบริโภคมีส่วนกำหนดความหมายของชนชั้นสูง หรือกลุ่มคนที่มีบทบาททางสังคม คนกลุ่มนี้จะมีรูปแบบการใช้ชีวิตของตัวเอง  ในสังคมบริโภค ความหมายของชนชั้น เชื้อชาติ และเพศ วัดจากลักษณะการจับจ่ายสินค้า การเข้าสังคม และการบริโภค  กลุ่มคนบางกลุ่มอาจใช้สินค้าเป็นตัวแสดงอัตลักษณ์ทางสังคม เพื่อบ่งบอกว่าตนเองแตกต่างจากคนส่วนใหญ่อย่างไร   การบริโภคสินค้าจึงเป็นการสร้างอัตลักษณ์ที่มองเห็นได้ชัดเจน เช่น ชาวอิตาลีที่อพยพไปอยู่ในอเมริกาจะใช้สินค้าที่บ่งบอกความเป็นชาวอิตาลี   วัตถุสิ่งของที่บ่งบอกความเป็นอิตาลีกลายเป็นสิ่งที่ผู้อพยพนำไปสร้างอัตลักษณ์ของตัวเองเพื่อทำให้ตนเองต่างไปจากผู้อพยพกลุ่มอื่นๆ   การแสวงหาอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มเช่นนี้ทำให้บุคคลรู้ว่าจะแสดงตัวอย่างไรและมีความภูมิใจในเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ของตนเอง 
            ทรงผมแบบอัฟโฟรและเสื้อผ้าแบบดาชิกิ  คือรูปแบบการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของชาวแอฟริกัน-อเมริกันในช่วงทศวรรษที่ 60   บางครั้งการบริโภคสินค้าเพื่อสร้างอัตลักษณ์ในแบบนี้อาจไม่ยุ่งยากซับซ้อนมาก เช่น การสวมเสื้อยืดที่มีตัวหนังสือเขียนว่า จูบฉันหรือติดสติกเกอร์ที่เขียนคำว่า สุขใจที่ได้เป็นไอริช  การใช้วัตถุเพื่อนิยามความหมายอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป  เมื่ออัตลักษณ์กลายเป็นวัตถุมากขึ้น  วัตถุนั้นก็จะทำให้ผู้บริโภคสร้างแบบแผนการใช้ชีวิตของตัวเองขึ้นมา  คำว่า แบบแผนการใช้ชีวิต” (lifestyle) เป็นคำที่เกิดขึ้นในช่วงที่กลุ่มคนต่างๆเริ่มที่จะแสวงหานิยามของตัวเองโดยอาศัยการบริโภคสินค้าเป็นหลัก  การมาถึงของสินค้าที่ตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค..1953   โดยนิตยสารเพลย์บอยคือสิ่งพิมพ์แรกที่บอกกับผู้อ่านว่า แบบแผนการใช้ชีวิตแบบเพลย์บอยซึ่งหมายถึงชีวิตที่มีอิสระทางเพศ เรื่องส่วนตัว และแสวงหาความก้าวหน้า โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลางที่เป็นผู้ชาย  คนกลุ่มนี้ต้องการมีแบบแผนชีวิตของตัวเอง เช่น มีรถยนต์ส่วนตัว เสื้อผ้าส่วนตัว และการยอมรับนับถือ 
ชีวิตแบบเพลย์บอยในทศวรรษที่ 50 จึงประกอบด้วยการมีเวลาว่าง เพื่อที่จะทำกิจกรรมอื่นๆนอกเหนือไปจากงานอาชีพ หรือเพื่อผ่อนคลายจากงานประจำ  ผู้ชายที่แต่งงานแล้วในยุคนี้ต้องการมีชีวิตแบบนี้  นอกจากนั้น สินค้าต่างๆที่จะทำให้ผู้ชายรู้สึกมีหน้ามีตา ได้แก่ รถยนต์รุ่นใหม่ที่บ่งบอกฐานะทางเศรษฐกิจ การมีรถยนต์ยังบอกให้ทราบว่าผู้ชายจะมีอิสระที่จะไปไหนก็ได้  รวมทั้งต้องมีเครื่องเสียงในรถเพื่อเปิดเพลงแนวโรแมนติก และการมีเสื้อผ้าที่มีเสน่ห์ดึงดูดทางเพศ
ถึงแม้ว่านิตยสารเพลย์บอยจะใช้ภาพเปลือยของหญิงสาวดึงดูดผู้อ่าน รวมทั้งมีข้อเขียนและบทสัมภาษณ์หญิงสาวหลายคนให้ผู้อ่านรู้จักเธอมากขึ้น  แต่จุดประสงค์หลักของเพลย์บอยก็คือทำให้ผู้อ่านซื้อสินค้าต่างๆที่บ่งบอกการมี ชีวิตแบบเพลย์บอย  ผู้ชายรักต่างเพศซึ่งมีภาระในเรื่องงานและครอบครัว ต่างเชื่อว่าการได้อ่านเพลย์บอยคือการทำให้ตนเองพบอิสระ เพราะเพลย์บอยทำให้เขามีความสุขและเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปจากการมีชีวิต  ในขณะที่เพลย์บอยถูกโจมตีจากนักอนุรักษ์นิยมเนื่องจากเสนอภาพเปลือยที่ส่อเรื่องเพศอย่างโจ่งแจ้ง  แต้ผู้อ่านไม่เคยสนใจประเด็นนี้ ตรงกันข้าม คนส่วนใหญ่รู้สึกพอใจและยอมรับในความคิดที่ว่า การมองผู้หญิงเปลือยของผู้ชายเป็นธรรมชาติพอๆกับการที่ผู้ชายต้องการซื้อรถคันใหม่

ความคิดเกี่ยวกับ แบบแผนการใช้ชีวิตเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกของคน เพราะการตอบสนองอารมณ์ด้วยการซื้อสินค้าที่ตนเองต้องการเป็นสิ่งที่ชัดเจน  นอกจากนั้น การมีแบบแผนชีวิตของตัวเองยังเป็นรูปแบบหนึ่งของการควบคุมทางสังคม โดยการปิดกั้นมิให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม  การมีชีวิตแบบผู้ชายเพลย์บอยเป็นสิ่งที่ท้าทายระบบศีลธรรมของครอบครัว การงานและเพศในช่วงทศวรรษที่ 50  ชีวิตแบบเพลย์บอยมีลักษณะเป็นการปฏิรูปแบบแผนการใช้ชีวิตของผู้ชาย และการแหกจารีตประเพณี  ชีวิตแบบเพลย์บอยทำให้บทบาททางสังคมของผู้ชายมีความเข้มแข็งมากขึ้น   ถ้าผู้ชายรู้สึกมีความสุขกับการใช้ชีวิตเพลย์บอย ผู้ชายก็จะไม่สนใจว่าตนเองต้องทำหน้าที่เพื่อครอบครัวอย่างไร

ในช่วงทศวรรษที่ 70 แบบแผนการใช้ชีวิตของเกย์ ทำให้เกย์บางคนรู้สึกว่ามีพวกพ้องโดยการบริโภคสินค้าบางอย่าง  อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมเกย์เริ่มต้นขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 50  ในเวลานั้นชาวเกย์รู้ว่าการแสดงออกของเกย์เป็นอย่างไร แต่สังคมยังไม่รับรู้   การแสดงออกถึงความเป็นเกย์ต่อสาธารณะเริ่มเห็นชัดมากขึ้นเมื่อมีแฟชั่น หนังสือ และที่อยู่ของชาวเกย์โดยเฉพาะ  นิตยสารเช่น ONE  Physique Pictorial มีการโฆษณาขายและสั่งซื้อสินค้าที่ตอบสนองเกย์ เช่น เสื้อผ้า และหนังสือ  ในนิตยสาร Ladder มีคอลัมน์แนะนำหนังสือให้กับเลสเบี้ยนโดยเฉพาะ  ชาวเกย์ในเขตเมืองจะมีพื้นที่พบปะสังสรรค์ของตัวเอง และพื้นที่เหล่านั้นก็กลายช่วยทำให้เกย์สร้างอัตลักษณ์ของตัวเอง   ร้านอาหารและร้านกาแฟกลายเป็นสถานที่ที่เกย์มาพบเจอกัน   ที่อื่นๆที่เกย์มาพบกัน เช่น โรงละครโอเปร่า ละครเวที หรือคอนเสิร์ต   สถานที่พักผ่อนของชาวเกย์ที่มีชื่อ เช่น คีย์ เวสต์ โพรวินซ์ทาวน์ และ ไฟร์ ไอส์แลนด์   

เกย์จำนวนมากที่นิยามตนเองว่าเป็นเกย์ พึงพอใจที่จะมีโลกของตัวเอง การมีชุมชนหรือสังคมของตัวเองทำให้เกย์สร้างอัตลักษณ์ของตัวเองได้แจ่มชัดมากขึ้น เนื่องจากการมีอัตลักษณ์จะทำให้มีสถานะภาพซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงอำนาจการซื้อ การบริโภค  อัตลักษณ์ยังทำให้เกย์มีพื้นที่ทางสังคมกว้างขึ้น และบางครั้งอาจทำให้ลดทอนความตึงเครียด และเพิ่มศักดิ์ศรีให้กับเกย์  แต่อัตลักษณ์ของเกย์ในแนวนี้เป็นสิ่งที่ผูกติดกับการบริโภคนิยม อย่างไรก็ตาม อัตลักษณ์จากการบริโภคจะเกิดขึ้นกับเกย์มากกว่าเลสเบี้ยน เนื่องจากเกย์มีรายได้มากกว่า และนักการตลาดก็เล็งเป้าหมายไปที่ชาวเกย์เป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตาม อัตลักษณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงอัตลักษณ์ของเกย์ที่เขตเมือง เนื่องจากในเมืองมีกระบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของกลุ่มเกย์  เมื่อมีเกย์ออกมาเปิดเผยตัวมากขึ้น  นักการตลาดก็มีเป้าหมายกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนขึ้น  แต่ก่อนที่จะมีเหตุการณ์จราจลที่สโตนวอลล์ สิ่งพิมพ์ของชาวเกย์ไม่เป็นที่รู้จัก ยกเว้นในกลุ่มเกย์เล็กๆบางกลุ่มเท่านั้น  ในปี ค..1974 หนังสือพิมพ์ของชาวเกย์ฉบับหนึ่งออกมาโฆษณาให้ชาวเกย์รู้จักใช้ชีวิตในแบบเกย์  นิตยสารของเกย์ เช่น Mandate ,Playguy ,Blueboy คือนิตยสารของเกย์ที่ผลิตออกมาหลังจากนิตยสาร Playboy   นิตยสารของเกย์เหล่านี้มีภาพเปลือยของผู้ชาย มีบทความเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ภาพยนตร์ ละคร ดนตรี และนำเสนอรูปแบบชีวิตแบบเกย์อย่างเปิดเผย  นอกจากนั้นยังมีโฆษณาหนังสือ เครื่องประดับ เสื้อผ้า อุปกรณ์การเสพสุข แผ่นเสียง สถานเริงรมย์ และสถานที่ตากอากาศ เพื่อชักจูงให้เกย์บริโภคและจับจ่ายสิ่งเหล่านี้  แนวคิดเรื่อง ชีวิตแบบเกย์ถูกทำให้เห็นเป็นจริงในปี ค..1978 เมื่อนิตยสาร The Advocate ลงโฆษณาเรื่อง Touching Your Lifestyle 

สินค้าและการบริโภคที่ทำให้เกิดการใช้ชีวิตแบบเกย์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะเกย์เพศชายเท่านั้น ส่วนเลสเบี้ยนจะไม่มีสิ่งนี้เกิดขึ้น สินค้าต่างๆจะถูกโฆษณาในนิตยสารเกย์ และผู้ผลิตสินค้าเพื่อเกย์  ผู้บริโภคที่เป็นเกย์คือกลุ่มเป้าหมายในตลาดเกย์  สิ่งที่เกย์ซื้อ  สวมใส่  ดื่มกิน  ท่องเที่ยว พักผ่อน และจับจ่ายใช้เงินตราล้วนเป็นสิ่งที่นักธุรกิจให้ความสนใจ เพราะตลาดเกย์เป็นตลาดที่ให้ผลกำไรสูง   แต่แนวคิดเรื่องตลาดเกย์มิใช่เรื่องใหม่  ก่อนหน้านั้นในช่วงทศวรรษที่ 60  นิตยสาร After Dark เป็นนิตยสารที่มีลูกค้าเป็นเกย์ แต่ไม่เคยประกาศตัวเองว่าเป็นนิตยสารเพื่อชาวเกย์  นิตยสารเล่มนี้มีโฆษณาเกี่ยวกับเพลง ภาพยนตร์ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อกลุ่มรักร่วมเพศโดยเฉพาะ    ในปี ค.. 1974 นิตยสาร After Dark มียอดผลิตถึง 1 แสนฉบับ และผู้อ่านเป็นผู้ชายโสดถึง 98 เปอร์เซ็นต์  เมื่อเนื้อหาของนิตยสารเล่มนี้สอดคล้องกับนิตยสารแนวเกย์ทั้งหลาย และทำให้เจ้าหน้าที่รัฐออกมาห้ามการโฆษณาเกย์ในสิ่งพิมพ์ต่างๆ

นิตยสารอื่นๆ มิได้เจาะตลาดกลุ่มเกย์มากนัก  ในปี ค..1975 The Wall Street Journal ลงบทความระบุว่ามีหลายบริษัทที่ทำโฆษณาสินค้าที่เจาะตลาดเกย์มากขึ้น  สิ่งพิมพ์เพื่อชาวเกย์ต่างหาโฆษณาเพื่อหารายได้ให้ตนเองมากขึ้น เนื่องจากสิ่งพิมพ์เล็งเห็นว่าลูกค้าที่เป็นเกย์มีรายได้สูงและมีกำลังซื้อดี  ในปี ค..1976 นิตยสาร Advertising Age ลงโฆษณาเต็มหน้าว่า เดี๋ยวนี้  กลุ่มรักร่วมเพศคือกลุ่มคนที่มีฐานะมากที่สุดในอเมริกา   และทำให้เจ้าของนิตยสารได้รับความสนใจจากเจ้าของธุรกิจจำนวน 488 ราย โดยเฉพาะธุรกิจแฟชั่น เครื่องดื่ม และเครื่องเสียง  นอกจากนั้นงานโฆษณาในนิตยสารเพื่อการค้าระบุว่า ผู้อ่านที่เป็นเกย์เป็นคนหนุ่ม มีการศึกษา และมีฐานะดี เกย์กลุ่มนี้มีรายได้ดีและรู้จักบริหารเงินของตัวเอง  เกย์เป็นคนโสด ไม่มีพันธะครอบครัว และไม่มีหนี้สิน

ชีวิตแบบเกย์มีอะไรมากกว่าสิ่งที่อยู่ในนิตยสารและธุรกิจ     นิตยสาร Advocate  และเจ้าของชื่อ เดวิด บี กู้ดสไตน์ เชื่อว่าชีวิตแบบเกย์มิอาจวัดได้จากความสามารถทางการเงินของเกย์เท่านั้น แต่เกย์ยังมีบทบาททางการเมืองด้วย  บทบรรณาธิการของกู้ดสไตน์ในปี ค..1977 ระบุว่าพื้นที่ทางสังคมและการเมืองของเกย์มีพัฒนาการที่ดีขึ้น เห็นได้จากการยอมรับลูกค้าที่เป็นเกย์มากขึ้นในร้านอาหาร บาร์ และสถานบริการต่างๆ   กู้ดสไตน์เชื่อว่าอำนาจทางการเงินของเกย์ทำให้สังคมยอมรับเกย์

ทฤษฎีของกู้ดสไตน์วางอยู่บนความคิดที่ว่าฐานะทางสังคมที่ดีขึ้นเป็นผลมาจากอำนาจการบริโภคของบุคคลสูงขึ้น นั่นคือการใช้จ่ายในสิ่งของฟุ่มเฟือยต่างๆ  สิ่งนี้เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับชาวเกย์ เพราะว่าการมีรายได้เพิ่มขึ้นทำให้เกย์จับจ่ายซื้อของได้มากขึ้น เกย์จะพึงพอใจมากขึ้น และรู้สึกมีความมั่นคงปลอดภัยกว่าเดิม  อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง การมีเงินมากไม่ได้ยืนยันว่าจะมีฐานะพิเศษ ตัวอย่างเช่น คนที่มีรายได้ปานกลาง ถ้าพวกเขาถูกมองว่าเป็นคนชั้นล่าง ผู้มีรายได้ปานกลางก็จะมีฐานะต่ำ เช่น ชาวอเมริกัน-แอฟริกันอาจถูกกีดกันออกไปจากสังคมถึงแม้จะมีรายได้ของตัวเอง ทั้งนี้เนื่องจากมีการแบ่งแยกกีดกันสีผิว  หรือในกรณีที่เป็นผู้หญิง ถึงแม้จะมีรายได้สูงก็อาจถูกข่มขืนได้ เช่นเดียวกับเกย์และเลสเบี้ยน ถึงแม้ว่าจะมีฐานะร่ำรวย แต่ก็อาจถูกสังคมรังเกียจ

ถึงแม้ว่ากู้ดสไตน์จะเชื่อว่าการมีฐานะดีทำให้เกย์มีความสุข แต่สังคมก็ยังไม่ยอมรับผู้ที่เป็นเกย์และเลสเบี้ยน  สภาพเศรษฐกิจของสหรัฐอาจเอื้อให้มีตลาดเพื่อกลุ่มเกย์ แต่ตลาดแบบนี้ก็เป็นเพียงภาพมายา  ในขณะที่นิตยสาร The Advocate พยายามสร้างแนวคิดเสรีนิยมให้กับผู้บริโภค แต่นิตยสารก็ล้มเหลวในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญ     

การเกิดขึ้นของตลาดเพื่อชาวเกย์ ยังทำให้เกิดความจำเป็นที่จะนิยามความหมายว่าอะไรคือตลาดเกย์   ในขณะที่มีโฆษณาต่างๆในสิ่งพิมพ์ของเกย์ ซึ่งล้วนทำให้สิ่งพิมพ์เหล่านั้นมีรายได้ดี แต่ตลาดเกย์ก็ยังคงมีความหมายคลุมเคลือ  ถึงแม้ว่าจะเคยมีการสำรวจตลาดในเชิงสถิติว่าตลาดเกย์มีจำนวนมากน้อยเม่าไหร่ก็ตาม    ในปี ค..1968 นิตยสาร The Advocate ได้พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก และได้มีการสำรวจตลาดว่าลูกค้าที่อ่าน The Advocate ส่วนใหญ่เป็นเกย์ที่มีฐานะดีและเป็นชนชั้นกลาง  ในปี ค..1988 นิตยสาร OUT/LOOK ซึ่งเป็นนิตยสารราย 15 วันเพื่อชาวเกย์ในซาน ฟรานซิสโก ทำการสำรวจตลาดผู้อ่านของตนและพบว่ารายได้ของเกย์เฉลี่ยคนละ 25,000 -29,000 ดอลล่าส์ต่อปี  ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อปีของผู้ชายทั่วไปเท่ากับ 27,352 ดอลล่าส์     ส่วนรายได้ของเลสเบี้ยนเท่ากับ 20,000-24,000 ดอลล่าส์ต่อคนต่อปี ซึ่งสูงกว่ารายได้เฉลี่ยของผู้หญิงทั่วไปที่มีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 18,825 ดอลล่าส์

ในปี ค..1989  หนังสือพิมพ์ชาวเกย์ชื่อ San Francisco Examiner ทำการสำรวจตลาดและผลก็ออกมาใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามการสำรวจของสถาบันวิจัยตลาดแห่งซิมมอนส์ในปี ค..1988 ทำให้เกิดภาพลักษณ์ของผู้บริโภคที่เป็นเกย์ที่มีฐานะดี   และมีรายได้เฉลี่ยนต่อคนต่อปีเท่ากับ 36,900 ดอลล่าส์   ทั้งนี้กลุ่มผู้ถูกสำรวจประมาณ 86 เปอร์เซ็นต์เป็นเกย์  หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ยืนยันว่าลูกค้าที่เป็นเกย์คือผู้มีรายได้เฉลี่ยนสูงกว่าคนทั่วไปถึง 35 เปอร์เซ็นต์  

ในปี ค..1992 สถาบันซิมมอนส์ได้จ้างบริษัทการตลาดริเวนเดลล์ให้มาสำรวจลูกค้าที่เป็นเกย์และเลสเบี้ยน  บริษัทริเวนเดลล์ได้สุ่มตัวอย่างลูกค้าของนิตยสารเกย์ 15 ฉบับ  นอกจากนั้นยังมีการสำรวจตลาดเกย์ของบริษัท Overlooked Opinions ในชิคาโก   ริเวนเดลล์ให้ข้อมูลที่นำไปสู่การวางแผนการตลาดเพื่อลูกค้าเกย์อย่างเป็นเรื่องราว  ข้อมูลของซิมมอนส์และโอเวอร์ลุค โอพีเนียนส์ เป็นข้อมูลที่สำคัญมากกว่าการสำรวจในปี ค..1988 เพราะนำให้บริษัทหลายแห่งเริ่มมองกลุ่มลูกค้าที่เป็นเกย์  ข้อมูลของซิมมอนส์ระบุว่ารายได้ของครอบครัวเกย์เฉลี่ยที่ 63,700 ดอลล่าส์ นอกจากนั้นยังมีการศึกษาดี ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และ 27 เปอร์เซ็นต์มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี   กลุ่มเกย์มักจะมีรายได้สูงและมีงานทำมั่นคง ประมาณ 92 เปอร์เซ็นต์มีงานทำ และประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์จะมีตำแหน่งในระดับผู้บริหารหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญ

โอเวอร์ลุค โอพีเนียนส์ กล่าวว่ากลุ่มลูกค้าที่เป็นเกย์และเลสเบี้ยนนิยมใช้เวลาในการจับจ่ายซื้อของและหาความสำราญส่วนตัว   มีเกย์ประมาณ 81.1 เปอร์เซ็นต์นิยมออกไปรับประทานอาหารค่ำนอกบ้านมากกว่า 5 ครั้งต่อเดือน  ประมาณ 20.1 เปอร์เซ็นต์นิยมไปออกกำลังกายที่สถานบริการมากกว่า 10 ครั้งต่อเดือน และมีชาวเกย์และเลสเบี้ยนประมาณ 18 ล้านคนในสหรัฐมีรายได้รวมกันเฉลี่ยปีละประมาณ  514 ล้านดอลล่าส์

การเกิดขึ้นของตลาดเกย์ที่มีผลกำไรถูกกระตุ้นโดยคนหลายประเภท เช่น นักสำรวจตลาด สิ่งพิมพ์ของเกย์ และบริษัทต่างๆ  ถึงแม้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะไม่ชี้ชัดลงไปว่าจะนำไปใช้กับกลุ่มเกย์ที่อาศัยในเขตเมืองที่ชอบอ่านนิตยสารและสิ่งพิมพ์ของเกย์ก็ตาม   บทความใน Ad Week, The Wall Street Journal , และ The New York Times ระบุว่ากลุ่มคนที่เป็นรักร่วมเพศคือลูกค้าในอุดมคติ  แนวคิดเรื่อง ชีวิตแบบเกย์จึงถูกแสดงออกในสินค้าของเบเนตอง, ลีวาย, เพลงของค่ายโคลัมเบีย เบียร์มิลเลอร์ และคัลวิน ไคลน์ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวเกย์สินค้าเหล่านี้จะสร้างสัญลักษณ์และหยบิยกเรื่องชีวิตแบบเกย์มาขาย

การมีตัวตนของเกย์ในสังคม คือการบริโภคสินค้าที่ตอบวนองความต้องการของผู้ที่เป็นเกย์  ชาวเกย์หลายคนแสดงความรู้สึกในแง่บวกต่อการดูโฆษณาสินค้าที่ทำออกมาเพื่อชาวเกย์โดยตรง และเกย์ก็สนับสนุนสินค้าเหล่านั้น  การเติบโตขึ้นของชุมชนเกย์และเลสเบี้ยนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเป็นผลโดยตรงมาจากการเกิดขึ้นของตลาดสินค้าเพื่อเกย์    แต่ในสังคมซึ่งมีคนที่รังเกียจและต่อต้านเกย์มากมายนี้ เกย์บางคนจะรู้สึกสบายใจถ้าเขามีชีวิตของตัวเองโดยการบริโคสินค้าและประสบความสำเร็จในงานที่ทำ  อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญกว่านั้นคือ การเป็นผู้บริโภคของเกย์เป็นสิ่งที่สังคมเปิดกว้าง และทำให้ตัวตนของเกย์ปรากฏต่อสาธารณะ   ในอดีตที่ผ่านมากลุ่มรักร่วมเพศมักจะถูกมองว่าเป็นบุคคลที่อันตรายและเบี่ยงเบนทางเพศ เมื่อเกย์กลายเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหม่ในสังคมก็ทำให้เกย์กลายเป็นคนที่ถูกมองว่ามีฐานะดี แต่มิได้เปลี่ยนทัศนคติแบบเดิมให้หมดไป

ในปี ค..1978 เดวิด กู้ดสไตน์ กล่าวว่าเมื่อเขามองหาโฆษณาในท้องตลาด เขาพบว่า The Advocate และนิตยสารเพื่อเกย์หลายฉบับทำให้เนื้อหาและโฆษณาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศเป็นสิ่งเล็กน้อย ทั้งนี้การเปิดเผยเรื่องทางเพศของเกย์อย่างโจ่งแจ้งค่อยๆลดลงตั้งแต่ที่เกย์กลายเป็นผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงเกย์จะไม่ถูกมองว่าเป็นพวกผิดปกติทางเพศ  ประเด็นที่เข้ามาแทนเรื่องเพศก็คือการจับจ่ายสินค้า    เรื่องทางเพศที่เกี่ยวข้องกับเกย์จะถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว และมีคำเรียกเฉพาะให้เกย์ว่าเป็นผู้บริโภคที่ เซ็กซี่โดยการบริโภคสินค้า เช่น เสื้อผ้า หรือการรับประทานอาหารค่ำ  ภาพลักษณ์ใหม่นี้ทำให้เรื่องเพศที่เกี่ยวข้องกับเกย์ลดความสำคัญลงไป

การยกประเด็นเรื่องผู้บริโภคที่เป็นเกย์ที่มีฐานะดีในสื่อและสาธารณะก่อให้เกิดผลลัพธ์บางอย่างตามมา เมื่อประเด็นเกี่ยวกับเกย์กลายเป็นเรื่องที่พูดกันมากในการเมืองระดับชาติ  ชาวเกย์ก็จะกลายเป็นบุคคลที่มีผลต่อคะแนนเสียง  เมื่อนักการเมืองเริ่มให้ความสนใจต่อคะแนนเสียงจากชาวเกย์  บริษัทที่ทำวิจัยตลาดก็ต้องหาวิธีการที่จะให้ชาวเกย์และเลสเบี้ยนมาลงคะแนนเสียง  การสำรวจตลาดทำให้พบว่า ภาพลักษณ์ของคะแนนเสียงเกย์ถูกสร้างมาจากการเป็นผู้บริโภคของเกย์ นั่นคือเป็นภาพลักษณ์ของผู้ที่มีการศึกษาสูง มีรายได้ดี และคิดเป็น 90 เปอร์เซ็นต์ของชาวเกย์ที่มีสิทธิเลือกตั้ง นอกจากนั้นชาวเกย์ยังสนใจนโนบายสังคมที่เกี่ยวข้องกับตนเอง  คะแนนเสียงของเกย์จึงเป็นความฝันของนักการเมืองและผู้ระดมทุนทั้งหลาย

การเกิดขึ้นของผู้บริโภคชาวเกย์ และคะแนนเสียงของเกย์ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัวในเรื่องเพศของเกย์ และการรับผิดชอบต่อสังคม  เห็นได้จากเรื่องสิทธิซึ่งชาวเกย์ออกมารณรงค์ว่าพวกเขามีสิทธิเหมือนคนทั่วไป   การตระหนักถึงสถานภาพทางสังคมของเกย์อาจเป็นผลมาจากการเติบโตของตลาดเพื่อเกย์ซึ่งถูกมองว่ามีอำนาจทางการเมืองด้วย  คะแนนเสียงของเกย์จะมีความสำคัญสำหรับนักการเมือง เช่นเดียวกับการที่เกย์กลายเป็นกลุ่มเป้าหมายให้กับบริษัทสินค้าหลายแห่ง  ปรากฏารณ์นี้คือความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกย์ก้าวผ่านจากการเรียกร้องสิทธิไปสู่การแสวงหาอำนาจทางการเมืองโดยใช้บทบาทของผู้บริโภคเป็นเครื่องมือ

การที่สื่อสนใจประเด็นคะแนนเสียงของเกย์ก็คล้ายๆกับให้ความสนใจต่อเรื่องการเป็นผู้บริโภคของเกย์  ในปี ค..1992 เมื่อมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีบิลล์ คลินตัน มีการรณรงค์ให้เกย์มาลงคะแนนเสียง  สมาคมและองค์กรต่างๆในชุมชนเกย์ออกมาระดมทุน โดยใช้ข้อมูลจากการวิจัยตลาดมาเป็นจุดโฆษณาเพื่อยืนยันว่ากลุ่มเกย์มีฐานะดีและมีอำนาจในการออกเสียงเลือกตั้ง  เดวิด มิกซ์เนอร์ คือผู้ที่มาเรียกร้องให้เกย์มาออกเสียงให้คลินตัน  มิกซ์เนอร์ยืนยันว่าได้รับคะแนนเสียงจากเกย์มากกว่า 3.5 ล้านคน   การรณรงค์ของคลินตันเพื่อขอคะแนนเสียงจากชาวเกย์ก็คือการสัญญาว่าจะแก้ไขนโยบายทางทหารมิให้มีการรังเกียจผู้ที่เป็นเกย์และเลสเบี้ยนในกองทัพ   อำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองของเกย์เป็นสิ่งที่น่าหลงใหลพอๆกับการบริโภคสินค้าของเกย์   ผู้บริจาคเงินหรือผู้ให้สิทธิกับชาวเกย์จำนวนมากรู้สึกว่าชาวเกย์สามารถให้อำนาจการเมืองที่แท้จริงได้

ถึงแม้ว่ากลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมและนักระดมทุนเพื่อชาวเกย์ จะออกไปลงคะแนนเสียงให้คลินตัน แต่นโยบายในกองทัพก็ยังไม่เปลี่ยน พรรคเดโมแครตและนักเคลื่อนไหวชาวเกย์คาดเดาผิดไปว่าพรรคฝ่ายขวาและรีพลับบลิกันจะทำให้นโยบายเปลี่ยนได้  ในที่สุด เกย์ที่ออกไปเลือกตั้งรู้ว่าเงินไม่อาจซื้ออำนาจที่ตนเองหวังไว้ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งเลวร้ายยิ่งกว่านั้นก็คือ ภาพลักษณ์ของเกย์ถูกเอาใช้ในกลุ่มนักการเมืองฝ่ายขวาเพื่อรณรงค์การต่อต้านเกย์  ภาพลักษณ์เหล่านี้ทำให้เกย์กลายเป็นพวกผิดปกติ  การทำให้เกย์มีภาพลักษณ์ของผู้ร่ำรวยและสามารถมีสิทธิพิเศษได้  นักการเมืองฝ่ายขวาทำให้ภาพลักษณ์นี้กลายเป็นสิ่งที่สังคมเชื่อว่าเกย์คือผู้ที่มีสิทธิในการออกเสียง แต่เป็นเสียงของคนกลุ่มเล็กๆที่ต้องการมีส่วนร่วมในสังคมที่ใหญ่กว่า  นอกจากนั้น สมาคมเกย์หลายแห่งที่มีทุนสูงก็ได้นำภาพลักษณ์ดังกล่าวนี้มาใช้แบบผิวเผิน และยิ่งทำให้เกย์กลายเป็นพวกที่ชอบแสวงหาความสำราญทางเพศแบบไร้สติ

แปลและเรียบเรียงโดย ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ จาก Michael Bronski, The Pleasure Principle. St.Martin’s Press, New York. 1998. Pp.140-147.