2/27/2556

Lesbian/Gay Studies in the House of Anthropology



เกย์และเลสเบี้ยนศึกษาในวิชามานุษยวิทยา

                ในขณะที่ช่วงทศวรรษ 1920 กำลังจะจบสิ้นลง  โกลเด้นไวเซอร์ได้ทบทวนการศึกษาทางมานุษยวิทยาเกี่ยวกับเพศวิถีเสร็จสิ้น เพศวิถีคนรักเพศเดียวกันปรากฎอยู่ท่ามกลางการทบทวนของเขา ในหัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง “เพศ” (1929:61)  ในหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องเพศเป็นเรื่องความลับ ที่ทำให้ไม่กล้าเปิดเผย  ตลอดครึ่งคริสต์ศตวรรษที่ 20  การพาดพิงถึงเรื่องพฤติกรรมรักเพศเดียวกันโดยนักมานุษยวิทยาส่วนใหญ่ยังคงเป็นเรื่องปกปิดในความคลุมเคลือ  และเป็นเรื่องที่ถูกตัดสินเช่นเดียวกับการกล่าวถึงคนรักเพศเดียวกันในวาทกรรมกระแสหลักของสังคม
                จนกระทั่งถึงปลายทศวรรษ 1960 งานเขียนทางมานุษยวิทยาที่ถือว่าเป็นงานศึกษาเกย์ เลสเบี้ยนได้เริ่มตีพิมพ์ สภาพทางประวัติศาสตร์สังคมที่เหมือนกันซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของเกย์ในสหรัฐอเมริกาในช่วงนี้ รวมเข้ากับความพยายามของคนใจกล้าบางคนที่จะเสี่ยงต่อการตำหนิและเสี่ยงต่ออาชีพของเขาด้วย  ได้ทำให้ประเด็นโฮโมเซ็กช่วลกลายเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจทางวิชาการ  ถึงแม้ว่าเกย์และเลสเบี้ยนศึกษาในวิชามานุษยวิทยาจะเคยเป็นประเด็นที่พัฒนาไปอย่างเชื่องช้ามากกว่าในวิชาวรรณคดีและประวัติศาสตร์  แต่ในช่วงทศวรรษ 1990 การศึกษาทางชาติพันธุ์ต่อพฤติกรรมและอัตลักษณ์ของคนรักเพศเดียวกัน  การสลับบทบาทของเพศสภาพ ชุมชนของเกย์และเลสเบี้ยน พฤติกรรมทางเพศที่ท้าทายกฎระเบียบ และสภาพแวดล้อมสังคมแบบคนรักเพศเดียวกันก็เริ่มมีการศึกษามากขึ้น
                สำหรับประเด็นที่ถูกจัดวางให้เป็นเรื่องเสื่อมเสีย เกิดมาจากสังคมตะวันตกผิวขาว   เพราะความถูกต้องตามระเบียบเชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญเหนือกว่าเรื่องอื่น  ในสภาพดังกล่าวนี้ ในบทความที่อยู่ในหนังสือเช่น Annual Review of Anthropology ได้แสดงให้เห็นการเคลื่อนไปข้างหน้าของการสร้างการยอมรับ   ในปัจจุบัน เกย์และเลสเบี้ยนศึกษาในมานุษยวิทยาเป็นสิ่งที่ลุ่มๆดอนๆ และมีความไม่ลงรอยในการที่จะแสวงหาขอบเขตของความรู้   แม้แต่คำว่า “สาขา” และ “ขอบเขต” ก็เป็นสิ่งที่กล่าวถึงในสิ่งพิมพ์ภายใต้การทบทวนที่อาจจะเป็นเนื้อของการศึกษาในฐานะเป็นเขตแดนของปัญญา  เพราะฉะนั้นสิ่งที่ตามมามิใช่การสำรวจที่สร้างความเข้าใจ  บทความนี้จึงมุ่งสนใจไปที่เรื่อง การมีอยู่และการหายไป การวิพากษ์และการโต้แย้ง ซึ่งส่งผลต่อการศึกษาเกย์และเลสเบี้ยนที่จะทำให้เกิดคำถามที่ทำให้คนที่อยู่ในและนอกวิชามานุษยวิทยาได้คิด
                ภายในสองทศวรรษ การศึกษาเพศวิถีคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศกลายเป็นเรื่อง “ปกปิดซ่อนเร้น”  อย่างไรก็ตาม ความลับในความหมายของฟูโก้ คือสิ่งที่สร้างสิ่งต่างๆ มากกว่าจะเป็นการปิดกั้น  มรดกตกทอดของการนิ่งเงียบยังดำเนินต่อไปเพื่อที่จะสร้างพื้นที่ของการศึกษา  ถึงแม้ว่าจะมีการตระหนักรู้มากขึ้นเกี่ยวกับข้อจำกัดของ “การทำลายการนิ่งเงียบ” ในฐานะเป็นงานทางวิชาการ แต่การศึกษาเกย์และเลสเบี้ยนในมานุษยวิทยามักจะไม่มีคนสนับสนุนเพื่อที่จะสร้างแรงกระตุ้นในการศึกษา ซึ่งจะทำให้เกิดทฤษฎีที่จะแสวงหา “ข้อเท็จจริง” หรือเพื่อที่จะทำให้เรื่องราวโฮโมเซ็กช่วลในสังคมประเพณีเป็นตัวตนและเป็นอุดมคติ  ในช่วงแรกๆของการศึกษาด้านนี้  ความลับของโฮโมเซ็กช่วล เป็นเรื่องราวที่มีไว้เพื่อการงอกเงยของทุนที่จะเกิดตามมา

การรวบรวมข้อมูล

                เกือบจะไม่มีข้อยกเว้นใดๆ บทความทบทวนความสัมพันธ์ของคนเพศเดียวกัน ซึ่งตีพิมพ์ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ล้วนแสดงความเศร้าต่อการไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเพศวิถีและโดยเฉพาะประเด็นโฮโมเซ็กช่วล   ในช่วงเปลี่ยนเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 การศึกษาของเวสเตอร์มาร์ค (1906) ได้ทบทวนความรักของโฮโมเซ็กช่วล  ต่อมาคอรีย์(1956) ได้เปรียบเทียบข้อมูลจากวัฒนธรรมต่างๆ และการสำรวจ Human Relations Area Files(HRAF) โดยฟอร์ดและบีช(1951) คือการศึกษาเด่นๆท่ามกลางหนังสือไม่กี่เล่มก่อนที่จะมีการเคลื่อนไหวของเกย์  แม้ว่าในทศวรรษ 1980 จะมีการศึกษาทางชาติพันธุ์มากขึ้น พร้อมกับการเกิดขึ้นของเกย์และเลสเบี้ยนศึกษา ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดว่าเรื่องราวที่ซับซ้อนที่ประสบความสำเร็จต่อการอธิบายการเติบโตทางปัญญาของประเด็นโฮโมเซ็กช่วล  การนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเพศวิถีของคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศยังคงเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่มีใครสนใจ ความหวาดกลัวผลที่จะตามมาต่ออาชีพ  การขัดสนในข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และการนิ่งเงียบของนักมานุษยวิทยาเอง  ปัจจุบัน ก็ยังเป็นเหมือนปี 1906 ซึ่งยังมีผู้คนและสถานที่อีกมากมายไม่ถูกถามถึง
                การที่จะบ่งชี้ถึงช่องแห่งแสงสว่างในการบันทึกทางมานุษยวิทยา    การรักษาจะเริ่มด้วยการทำวิจัย     และความพยายามอย่างการไตร่ตรองที่จะ “หาข้อมูล”  นักวิชาการหลายคนที่กำลังทำวิจัยเกี่ยวกับเกย์เลสเบี้ยนในมานุษยวิทยา ค้นพบว่าตนเองเข้าไปอยู่ในการทำแผนที่ทางชาติพันธุ์ (ethnocartography) ที่มองหาหลักฐานเกี่ยวกับเพศวิถีของคนรักเพศเดียวกันและความกำกวมของเพศสภาพในสังคม “อื่น” การศึกษาในแนวนี้ได้แฝงเรื่องราวของนักสำรวจและสังสังเกตการณ์แบบเก่าๆซึ่งนำไปสู่การเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองเรื่องเพศที่ยากจะชนะ ซึ่งมุ่งสนใจแต่ความสัมพันธ์ของชาวเกย์และเลสเบี้ยนในสังคมตะวันตก  ผลที่ตามมาของการศึกษาแบบนี้ก็คือการผสมรวมระหว่างประเด็นโฮโมเซ็กช่วลกับคนที่ต่อต้าน
                เมื่อขบวนการเคลื่อนไหวของเกย์มีต้นกำเนิดมาจากขบวนการ Homophile movement และวัฒนธรรมบาร์ในช่วงก่อนหหน้านั้น  ทำให้วิชาเกย์และเลสเบี้ยนศึกษาถือกำเนิดขึ้นภายใต้การพัฒนาทางวิชาการซึ่งเตรียมไว้สำหรับการขยายตัวในช่วงต่อมา  ก่อนที่นักมานุษยวิทยาจะทำความเข้าใจโลกโดยมองหาพฤติกรรมของคนข้ามเพศและคนรักเพศเดียวกัน ประเด็นโฮโมเซ็กช่วลได้กลายเป็นเรื่องและหัวข้อสำหรับการตั้งคำถามทางมานุษยวิทยา  เรื่องแรกๆคือการแก้ไขนิยามของโฮโมเซ็กช่วลที่มองว่าเป็นโรคจิตไปสู่การมองว่าเป็นการผลิตสร้างทางวัฒนธรรม
                ความน่าเชื่อถือต่อการเปลี่ยนนิยามจากจิตเวชศาสตร์ไปสู่กระบวนทัศน์วัฒนธรรมของโฮโมเซ็กช่วล ทำให้เกิดการสร้างสำนักคิดแนว Social Construction ในช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งพบได้ในงานประวัติศาสตร์ของ D'Emilio และงานสังคมวิทยาของ McIntosh และ Weeks   นักมานุษยวิทยาได้ใช้งานของคนเหล่านี้รวมทั้งงานของฟูโก้ (1978) เพื่อที่จะอธิบายว่าบริบททางวัฒนธรรมมีผลต่อการหล่อหลอมรูปแบบ การตีความและสาเหตุของพฤติกรรมโฮโมเซ็กช่วล  นักวิชาการบางคนทำมากกว่านั้น โดยการอธิบายว่าเพศวิถีคนรักเพศเดียวกันและ “แรงขับทางเพศ” เป็นการสร้างทางสังคมโดยปราศจากความคิดแบบตะวันตก  นักวิชาการบางคนศึกษาในประเด็นนี้ด้วยมุมมองแบบการผลิตสร้างทางสังคม ซึ่งมักจะใช้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนคำอธิบายทางชีววิทยาเกี่ยวกับโฮโมเซ็กช่วล การสังเกตของแวนซ์(19891991) เกี่ยวกับการใช้และไม่ใช้ความคิดแบบผลิตสร้างทางสังคม เป็นข้อสังเกตที่ทำให้คิดตามได้มากที่สุดในแวดวงวิชาการ
                ก่อนที่จะมีสำนักคิด Social Construction สิ่งพิมพ์ในช่วงกลางทศวรรษ 1960ของเอเวอลีน ฮูเกอร์(1965,1967) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาที่ใช้วิธีเก็บข้อมูลทางชาติพันธุ์ เป็นการศึกษาที่สำคัญในการที่จะชี้ทางให้นักวิจัยเบี่ยงเบนความสนใจจากการค้นหาสาเหตุของโฮโมเซ็กช่วล  ฮูเกอร์พบอาการทางจิตที่เป็นผลจากการถูกสังคมตำหนิจากการเป็นโฮโมเซ็กช่วล  ซึ่งมิใช่ความเบี่ยงเบนทางเพศ  การมองข้ามไปจากแนวปัจเจกนิยมที่ฝังรากลึกในการอธิบายส่วนใหญ่ ทำให้นักตรวจสอบหลายคนได้สร้างคำถามใหม่เกี่ยวกับสังคมที่แตกต่างที่กำหนดโครงสร้างและทำให้เพศวิถีของคนรักเพศเดียวกันเป็นรูปธรรม
                ภายในวิชามานุษยวิทยา เรื่องที่เกิดก่อนแนวคิดผลิตสร้างทางสังคม พบได้ในสำนักคิดบุคลิกภาพและวัฒนธรรม  เบเนดิกต์และมี้ดมิได้โต้เถียงเรื่องแนวคิดโฮโมเซ็กช่วลในฐานะเป็นเรื่องราวของแรงขับและอารมณ์ส่วนบุคคล แต่เบเนดิกต์และมี้ดมองว่าสังคมบางแห่งอาจเป็นผู้ที่กำหนดพฤติกรรมนี้มากกว่าสังคมบางแห่ง  ในช่วงทศวรรษ 1930และ1940 นักมานุษยวิทยาหลายคนเช่น แลนด์(1940) และ เอฟ เอ วิลเลียมส์(1936) ได้เพิ่มข้อสังเกตของพวกเขาเข้าไปยังกลุ่มงานศึกษาที่สนใจเรื่องโฮโมเซ็กช่วล  ยังใช้เวลาอีกหลายปีก่อนที่จะเกิดความคิดเรื่องพฤติกรรมเบี่ยงเบนของโฮโมเซ็กช่วล ที่ปูทางให้ศึกษาเพศวิถีของคนรักเพศเดียวกันในฐานะเป็นสิ่งที่ถูกจัดระเบียบ ถูกกำหนดโดยวัฒนธรรมและปรากฎขึ้นในเขตวัฒนธรรมเฉพาะ
                หลังจากมีข้อสังสัยมาหลายทศวรรษ งานศึกษาที่เป็นรากฐานก็เกิดขึ้นในยุคที่มีเกย์และเลสเบี้ยนศึกษา  โซเน่นเชน(1966,1968) เป็นผู้ที่ทำลายความเงียบ อย่างที่ไม่เคยมีใครเคยทำโดยการอธิบายว่าการศึกษาทางชาติพันธุ์มีคุณค่าต่อการศึกษาโฮโมเซ็กช่วล  ในเรื่อง Mother Camp (1979)  ของนิวตัน ซึ่งศึกษาเรื่องผู้ชายแต่งหญิงในการแสดงโชว์ เป็นการศึกษาที่สวนทางในยุคนั้น และเป็นประสบการณ์ของการกลับมาใหม่ที่นักวิชาการปัจจุบันสนใจในเรื่องความกำกวมของเพศสภาพ  การศึกษาของเกล รู้บิ้น(1975) ชี้ว่าการเป็นรักต่างเพศตามระเบียบสังคมทำให้เกิดการสร้างเพศสภาพและเพศวิถี เป็นการศึกษาที่สร้างทฤษฎีเพศสภาพที่น่าสนใจ  หนังสือของเฮิร์ด เรื่อง Ritualized Homosexuality in Melanesia(1993) และวอลเตอร์ แอล วิลเลียม เรื่อง The Spirit and the Flesh(1992) เป็นงานเริ่มต้นที่ศึกษาชาวมีลานีเซียและชนพื้นเมืองในอเมริกาเหนือที่น่าจดจำ  การศึกษาของแบล็ควู้ดเรื่อง Anthropology and Homosexual Behavior (1986) ยังคงเป็นงานที่สำคัญที่อธิบายความหลากหลายของบริบทสังคมที่มีการศึกษาในเรื่องโฮโมเซ็กช่วล
                การทำงานทางชาติพันธุ์เกี่ยวกับพฤติกรรมและอัตลักษณ์โฮโมเซ็กช่วลในปัจจุบัน มีตั้งแต่เรื่องความสัมพันธ์ทางเพศในเลโซโธไปจนถึงอัตลักษณ์แบบ Machistas ในนิคารากัว ซึ่งผู้ชายจะมีเพศสัมพันธ์กันเอง แต่ไม่นิยามว่าตนเองเป็นโฮโมเซ็กช่วล   ผู้อ่านที่เข้าไปในห้องสมุดที่เก็บเอกสารไว้อย่างดีจะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนรักเพศเดียวกันในกลุ่มคนทำเหมืองในแอฟริกาใต้ (Moodie and Sibuyi 1989) การแต่งงานระหว่างเด็กชายของชาวอะแซนเด่ (Evans-Pritchard 1970) ความสัมพันธ์แบบสาวห้าวสาวหวานในกลุ่มเลสเบี้ยนในสหรัฐอเมริกา (Davis and Kenedy 1986, 1989) การต่อต้านการแต่งงานของสตรีชาวจีน (Sankar 1986) หรือการก่อตัวของชุมชนเกย์นอกสังคมตะวันตก (Allyn 1992)  งานศึกษาเหล่านี้วิเคราะห์ในทางเดียวกันโดยตั้งคำถามต่อบุคลิกของเพศสภาพและเพศสรีระที่ผิดเพี้ยน รวมทั้งการศึกษาของโบลิน(1987,1988,1992) เกี่ยวกับคนข้ามเพศและการศึกษาของผู้เขียนเกี่ยวกับเพศสภาพของหญิงรักหญิง (Weston 1993)
                เรื่องที่น่าพอใจน้อยกว่าในงานศึกษาเหล่านี้ก็คือ เรื่องการสำรวจและการเปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรม ความห่างไกลกันระหว่างการศึกษาของเวลเตอร์มาร์ค (1906) และกรีนเบิร์ก (1988) แสดงให้เห็นก้าวกระโดดของสิ่งที่นำมาศึกษา แต่เป็นการกระโดดข้ามจากการทำงานในห้องไปสู่ภาคสนาม ในการค้นหาหลักฐานเกี่ยวกับคนรักเพศเดียวกันในสังคมอื่น บางโครงการมีการพูดถึงสิ่งต่อไปนี้ 1)การประเมินถึงการยอมรับ หรือการยอมทนต่อพฤติกรรมโฮโมเซ็กช่วลในแต่ละสังคม  2) ความพยายามที่จะหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมหรือแบบแผนของการจัดระเบียบสังคมที่ทำให้เกิดคนข้ามเพศหรือเพศวิถีคนรักเพศเดียวกัน และ 3) พัฒนาการของการจัดรูปแบบโฮโมเซ็กช่วลในแต่ละวัฒนธรรม   นักวิจัยหลายคนเริ่มต้นทำงานแรกด้วยสมมุติฐานแบบรักต่างเพศซึ่งแผ่คลุมชีวิตของคนในสังคมตะวันตก ซึ่งนักวิจัยหลายคนเติบโตมาแบบนั้น  โชคร้ายที่ งานศึกษาดีๆหลายชิ้นมักจะสนใจแต่เรื่องการประเมินถึงการยอมรับโฮโมเซ็กช่วลโดยอาสัยข้อมูลที่ได้มาจากนักมานุษยวิทยารุ่นแรกๆและการสำรวจของ Human Relations Area Files  นักวิจัยหลายคนมุ่งมั่นที่จะใช้ข้อมูลจากส่วนนี้อย่างไม่วิเคราะห์เพื่อที่จะนำเสนอสังคมที่เป็นเหมือนเสาหินที่จะรองรับหรือไม่รองรับพฤติกรรมโฮโมเซ็กช่วล เนื่องจากการอ้างโฮโมเซ็กช่วลจากแหล่งข้อมูลทั้งสองมักจะเป็นเรื่องกระจัดกระจายและไม่เห็นบริบท ซึ่งการสร้างมาตรฐานสำหรับการยอมรับโฮโมเซ็กช่วลเป็นเรื่องที่ยาก และการค้นหาความคิดที่ขัดแย้งกันในส่วนต่างๆของสังคมก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
                การมองหาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมต่างๆ เห็นได้จากการศึกษาของเฮิร์ด(1989) ที่นำเอาการปฏิบัติแบบโฮโมเซ็กช่วลในพิธีกรรมของชาวปาปัวนิวกินีไปรวมกับพฤติกรรมที่พ่อจะนอนหลับกับเด็กชาย และการศึกษาของไวท์เฮด(1981)ที่เชื่อมโยงการแต่งตัวข้ามเพศของชาวอินเดียนพื้นเมืองในอเมริกาเหนือเข้ากับวิธีการจัดลำดับชั้นทางสังคม  การมองข้ามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของพวกเขา ทำให้การศึกษาหลายเรื่องมองข้ามบริบททางประวัติศาสตร์โดยการจับกลุ่มคนที่ศึกษาในปัจจุบันเข้าไปรวมกับข้อมูลที่มีการศึกษามาในอดีตเพื่อที่จะสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับคนข้ามเพศและความสัมพันธ์ของคนเพศเดียวกันในสังคมบางแห่ง มีนักวิชาการเพียงไม่กี่คน เช่น นัฟท์(1990,1993) ที่ศึกษาการแลกเปลี่ยนน้ำอสุจิและพิธีกรรมของชาวมีลานีเซีย ซึ่งมองดูบริบททางประวัติศาสตร์และเปรียบเทียบด้วยวิธีที่สุขุมรอบคอบซึ่งนำไปสู่การศึกษาที่แตกต่าง
             ในหลายปีที่ผ่านมา ความพยายามได้มุ่งไปสู่การพัฒนาความคิดที่จะจัดระเบียบข้อมูลเพื่อการจัดประเภท  กรีนเบิร์ก(1988) พยายามจัดประเภทโฮโมเซ็กช่วลเป็นกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคนข้ามเพศ กลุ่มข้ามอายุ และกลุ่มที่มีฐานะเท่ากัน สิ่งนี้คือตัวอย่างการศึกษาในแนวนี้ รูปแบบของกลุ่มข้ามอายุ แสดงออกโดยความแตกต่างของอายุระหว่างคู่รักและการแบ่งการปฏิบัติทางเพศที่ดูจากสิ่งที่เหมาะสมกับแต่ละคน รูปแบบนี้ได้รับความสนใจในช่วงที่ผ่านมาพร้อมกับการขยายตัวของการศึกษาเชิงสหสาขาวิชาในมีลานีเซียและกรีกโบราณ  รูปแบบของชาวอินเดียนในอเมริกา เช่น เบอร์ดาเช่ ซึ่งผู้ชายจะแต่งกายและทำงานแบบสตรี มักจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มคนข้ามเพศ  ข้อยกเว้นที่มีการโต้เถียงนิดหน่อย คือความสัมพันธ์ของคนฐานะเท่ากัน วึ่งเชื่อว่าเป็นการแลกเปลี่ยนกิจกรรมทางเพศและไม่มีความแตกต่างของเพศสภาพระหว่างคู่ซึ่งส่วนใหญ่มีอยู่ในสังคมตะวันตก
                สิ่งที่มากไปกว่าการศึกษาในแนวทางของลินนาอุสหรือเวเบอร์ มีการนำโฮโมเซ็กช่วลเข้าไปอยู่ในความหลากหลายที่แสดงให้เห็นถึงข้อค้นพบสำหรับสังคมตะวันตกซึ่งทำให้โฮโมเซ็กช่วลกลายเรื่องรสนิยมส่วนบุคคล หรือความโน้มเอียงของบุคคล การจัดประเภทของความสัมพันธ์ของคนเพศเดียวกันยังทำให้เกิดการวิเคราะห์ที่มีการสืบหารูปแบบเฉพาะในแต่ละที่ และการตั้งคำถามเกี่ยวกับการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น ทำไมไม่ค่อยพบรูปแบบความสัมพันธ์ของคนรักเพศเดียวกันที่มีฐานะเท่ากันในสังคมนิวกินี หรือชาวพื้นเมืองนิวกินีได้รับแบบอย่างมาจากชาวตะวันตกในยุคอาณานิคม การจัดประเภทดังกล่าวนี้มีข้อสันนิษฐานว่าโฮโมเซ็กช่วลเป็นแบบแผนที่เป็นสากลซึ่งมีความหลากหลายในการแสดงตัวตน

ฟังเสียงของโฮโมเซ็กช่วล

                การทำแผนที่ชาติพันธุ์เกี่ยวกับโฮโมเซ็กช่วล ในแต่ละสังคมของส่วนต่างๆของโลกยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่มีการเริ่มต้นที่จะจำกัดขอบเขตโดยโครงการที่ต้องการเสาะหาข้อมูลและตั้งคำถามในเชิงทฤษฎี   เกล รูบิ้น(1975) เป็นผู้ริเริ่มซึ่งดูเหมือนทำให้การศึกษาเรื่องนี้มีลางที่ดี เพราะเป็นการเริ่มที่มีความเชี่ยวชาญในเชิงทฤษฎี การศึกษาโฮโมเซ็กช่วลโดยภาพรวมถูกมองว่ายังขาดทฤษฎี ซึ่งแบล็ควู้ดเคยพูดไว้ในช่วงกลางทศวรรษ 1980  ถึงแม้จะมีการเกิดขึ้นของการศึกษาของนักวิชาการรุ่นใหม่ซึ่งมาจากทุนของสหสาขาวิชา มีข้อยกเว้นในการศึกษารุ่นเก่าและนักวิจัยหลายคนได้ใช้แนวคิดของฟูโก้ก่อนที่จะแสดงผลการวิจัย แต่โดยปกติ มุมมองทางทฤษฎีของนักวิจัยยังคงฝังตัวอยู่กับข้อมูลจากภาคสนาม  ผลที่ตามมาคือ การไม่มีทฤษฎีกลายเป็นการยอมแพ้ต่อทฤษฎี  สิ่งที่หลบซ่อนอยู่ก็คือคำอธิบายแบบหน้าที่นิยม สมมุติฐานแบบลำเอียงทางชาติพันธุ์ (ethnocentric) และการสังเคราะห์ความคิดที่ไม่ลงรอยกัน
                ไม่มีที่ไหนที่เป็นผลกระทบของการละเลยต่อทฤษฎีมากไปกว่าการอธิบายที่สะเทือนใจของโบลตันในการวิจัยเอดส์ทางมานุษยวิทยา (1991,1992)  ในฐานะที่เป็นนักมานุษยวิทยาที่มีเป้าหมายที่ผ่านการประยุกต์ โดยการป้องกันการแพร่ระบาดของเอชไอวี โบลตันค้นพบคำถามเกี่ยวกับเอดส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อนักสำรวจจากข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนายุทธศาสตร์การป้องกันเอดส์  โดยการรื้อสร้างคำว่า “ส่ำส่อน” และการนิยามข้อเสียเปรียบของการใช้คำนี้ในวงการศึกษาและการวิจัย  โบลตันสามารถกำหนดประเด็นที่สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีเข้ากับการปฏิบัติที่เกิดขึ้นในความพยายามที่จะรักษาชีวิต
                ในเวทีนานาชาติ มานุษยวิทยาที่กู้ชีพของโฮโมเซ็กช่วลในคนพื้นเมืองยังคงห่อหุ้มด้วยงานวิจัยทางทฤษฎีใหม่ๆเกี่ยวกับความสัมพันธ์หลังยุคอาณานิคม  เรื่องราวที่คุ้นเคยในการบันทึกทางมานุษยวิทยา คือการที่นักมานุษยวิทยาออกไปบันทึกพิธีกรรมและการปฏิบัติตามประเพณีก่อนที่มันจะหายไป  เรื่องที่แย่ที่สุด คือการบันทึกแบบนี้ทำให้เกิดวาทกรรมแบบอาณานิคม เช่นคำว่าสังคมบรรพกาล (primitive societies) ซึ่งชาวตะวันตกรับเอาไปใช้ต่อ เรื่องที่ดีที่สุดก็คือ ทำให้เกิดการนำความคิดเรื่องคนป่าที่น่ายกย่องในสังคมที่น่านับถือกลับมาใช้ใหม่ซึ่งทำให้เกิดพื้นที่ที่มีค่าสำหรับการแสดงออกของคนข้ามเพศและคนรักเพศเดียวกัน  บทความไม่กี่ชิ้นที่สำรวจการเมืองเรื่องการรวบรวมข้อมูลและการเขียนงานวิจัย นักวิชาการบางคนประยุกต์เทคนิคมาจากวิชาประวัติศาสตร์และการวิจารณ์วรรณคดีเพื่อที่จะบันทึกเรื่องราวจากช่วงยุคอาณานิคม อย่างไรก็ตาม งานวิจัยส่วนใหญ่นำเสนอแนวคิดวัฒนธรรมประเพณีเพื่อที่จะอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าไปแทรกแซงของชาวยุโรป  ผลสรุปมักจะอธิบายด้วยแนวคิดโรแมนติก ความแปลกพิศดาร และความเป็นตะวันออก
                การเรียกหาทฤษฎีในบทความนี้ มิได้ตั้งใจที่จะทำให้ความพยายามของนักวิจัยเหล่านั้นที่เขียนงานจากประสบการณ์ภาคสนามหมดความสำคัญลงไป หรือมิได้ปฏิเสธสิ่งที่พวกเขาสร้างไว้  จริงๆแล้ว มีความจำเป็นที่จะทำงานภาคสนามมากขึ้น  ถึงแม้ว่าการเก็บรวบรวมงานวิจัยจะจำเป็นต่อการสนับสนุนให้มีการจัดประเภท ซึ่งความรู้เกี่ยวกับคนข้ามเพศและคนรักเพศเดียวกันยังคงกระจัดกระจายในหลายสังคม  รายละเอียดคือเหตุการณ์ที่ใช้เพื่อการศึกษาที่กว้างขึ้น เช่นการศึกษาของเรย์มอนด์ เคลลีในปี 1976 เกี่ยวกับแม่มด หรือการศึกษาของนิสาเกี่ยวกับการละเล่นทางเพศของเด็กในความทรงจำของตัวเอง  สิ่งที่ขาดหายไปก็คือข้อมูลเกี่ยวกับเพศวิถีและกามารมณ์ของผู้หญิงที่รักเพศเดียวกันที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกา ยังมีเรื่องที่ต้องศึกษาอีกมาก ตราบเท่าที่นักมานุษยวิทยาจะเดินหน้าไปพร้อมกับความเข้าใจว่ามีทฤษฎีที่ซ่อนเร้นอยู่ในการทำวิจัยของพวกเขา
                ถ้าปราศจากการทำงานทางชาติพันธุ์ จะไม่มีใครรู้เกี่ยวกับความหลากหลายของสถานที่ที่มีโฮโมเซ็กช่วลและคนข้ามเพศ  นักมานุษยวิทยาได้เริ่มตอบคำถามที่มาจากคนรักต่างเพศในตะวันตก เช่น ถามว่าพวกเขาทำอะไร (ไม่ว่าจะบนเตียงหรือในป่า)  ความไม่สมบูรณ์ในการนำเสนอเชิงภูมิศาสตร์ทำให้เกิดอันตรายตามมา เมื่อนักสำรวจหนึ่งหรือสองคนได้ศึกษาคนรักเพศเดียวกันหรือคนข้ามเพศในพื้นที่บางแห่ง ทำให้เกิดสถานการณ์ที่นักมานุษยวิทยาคนเดียวกลายเป็นคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการอธิบาย “คนของเขา”  ในที่สุด ปาร์คเกอร์ก็กลายเป็นตัวแทนของชาวบราซิล แคร์เรียร์เป็นตัวแทนของชาวเม็กซิโก  เฮิร์ดเป็นตัวแทนของชาวแซมเบีย และโรเบิร์ตสันเป็นตัวแทนของชาวญี่ปุ่น   การจับคู่ตามสถานการณ์ของนักมานุษยวิทยาหนึ่งคนหรือสองคนกับสังคมที่เขาศึกษา บ่งบอกว่าข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นโดยการวิเคราะห์ของนักมานุษยวิทยา  ถ้าคุณอ่านงานวิจัยและมองหาข้อมูลธรรมเนียมเยลแลมม่าในอินเดีย คุณก็จะได้ความคิดแบบโครงสร้างนิยม (ตรงข้ามกับความคิดเชิงประวัติศาสตร์  เชิงวัตถุวิสัยและเชิงโพสต์มอเดิร์น) ในกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกาเหนือ มีนานีเซีย และคนพื้นเมืองในสหรับอเมริกา นักมานุษยวิทยาเข้าไปศึกษาเพื่อที่จะสร้างคำอธิบายที่นำกรอบความคิดที่ต่างกันมาวิเคราะห์ในปรากฎการณ์อย่างเดียวกัน
                วิชาเกย์และเลสเบี้ยนศึกษาในมานุษยวิทยาคือสิ่งที่กำลังเปลี่ยนที่ชวนให้คิดถึงการเปลี่ยนจากมานุษยวิทยาสตรีเพศไปเป็นมานุษยวิทยาเพศสภาพ ในขณะที่มานุษยวิทยาสตรีเพศกำลังเกิดขึ้นเป็นสาขาชัดเจน นักวิจัยหลายคนก็ทำลายกรงขังทางวิชาการโดยหันไปสนใจการเก็บข้อมูลซึ่งจะให้เสียงของผู้หญิง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกปฏิเสธในงานเขียนทางชาติพันธุ์  การเคลื่อนตัวไปสู่มานุษยวิทยาเพศสภาพช่วยทำให้การเก็บข้อภาคสนามเป็นเรื่องของการสร้างทฤษฎีมากขึ้น และเปลี่ยนจากการให้ความสนใจแต่ผู้หญิงไปสู่การศึกษาความเป็นหญิง ความเป็นชายและความสัมพันธ์ของชายหญิง   นักวิจัยที่เริ่มตั้งคำถามต่อการจัดประเภทแบบเก่าๆซึ่งทำให้เกิดการศึกษาเรื่องเพศสภาพ  ข้อถกเถียงของสตรีนิยมในปัจจุบันเกี่ยวกับการที่ “ผู้หญิง” เป็นตัวแทนของการวิเคราะห์ ทำให้พบเห็นในแนวเดียวกันที่จะวิจารณ์เกี่ยวกับความเป็นสากลของแนวคิดโฮโมเซ็กช่วลและรักต่างเพศ  แนวคิดเกย์ เลสเบี้ยน ความเป็นหญิง ความเป็นชาย และแม้แต่แนวคิดเพศวิถีเอง
                ความปั่นป่วนนี้เป็นเรื่องวับซ้อนต่อการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับโฮโมเซ็กช่วล การทำให้เกย์มีตัวตนมองเห็นได้ในงานเขียนทางชาติพันธุ์กลายเป็นเรื่องที่ครั้งหนึ่งเป็นไปไม่ได้ซึ่งจะถูกแทนด้วยทฤษฎีที่อัตลักษณ์เกย์คือสิ่งที่ตะวันตกสร้างขึ้นเพื่อความเชื่อที่ว่า “คุณจะรู้จักเกย์เมื่อคุณมองเห็นเขา” การทำลายความเงียบของโฮโมเซ็กช่วลกลายเป็นปัญหาหลังจากที่นักวิชาการทั้งหลายเริ่มที่จะถามว่าอะไรที่เรียกว่าโฮโมเซ็กช่วลในบริบททางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

การมาถึงของคำเรียก

                คุณจะนิยามคำว่า Homosexuality อย่างไร   มีความคิดของกลุ่มคนมากมายในการเรียนรู้ในสิ่งที่ผู้เขียนเคยได้รับมาปฏิบัติเพื่อที่จะเขียนบทความทบทวนงานทางชาติพันธุ์เกี่ยวกับเกย์และเลสเบี้ยน จากจุดเริ่มต้น หัวข้อนี้เกี่ยวโยงกับการศึกษาเกย์และเลสเบี้ยนในทางมานุษยวิทยา ซึ่งเคยถูกก่อกวนโดยการใช้คำอธิบายที่ไม่ตายตัวและคลุมเคลือ  ไม่ว่ากลุ่มคนที่ศึกษาจะเป็น Ihamanaของชาวซูนี หรือฮิราสในภาคเหนือของอินเดีย      นักวิชาการทั้งหลายก็จะต้องปลุกปล้ำกับคำศัพท์ต่างๆมากมายที่นำไปอธิบายปรากฎการณ์ที่ศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโฮโมเซ็กช่วล กะเทยแท้ กะเทยเทียม โซโดไมต์ คนข้ามเพศ คนแปลงเพศ  เมื่อมาถึงเรื่องเพศสภาพ นักวิชาการหลายคนก็จะวิเคราะห์ไปตามคำศัพท์ “ผู้ชาย” และ “ผู้หญิง”  เช่นเดียวกับ ความเป็นชาย ความเป็นหญิง ถึงแม้ว่าความหมายของคำเหล่านี้จะไม่ถูกตั้งคำถามก็ตาม ตัวอย่างเช่น การแต่งตัวของชายในแบบสตรีเพศ ในฐานะที่เป็นรูปแบบของการแสดงความเป็นหญิง เป็นเรื่องที่ชาวตะวันตกมักจะเชื่อในบุคลิกของเพศสภาพแบบคู่ตรงข้าม ปัญหามีความซับซ้อนเมื่อนำไปศึกษาเปรียบเทียบในแต่ละวัฒนธรรม
                คำศัพท์ส่วนใหญ่ไม่มีความชัดเจนซึ่งมาจากวิชาเพศศาสตร์ วิชาที่เติบโตพร้อมกับวิชามานุษยวิทยาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การจัดแบ่งประเภทของมนุษย์ทั้งหมดล้วนมาจากวิชาเพศศาสตร์ คำว่าโฮโมเซ็กช่วล ซึ่งมาจากวิชาเพศศาสตร์เป็นคำที่ใช้มายาวนาน นักวิชาการรุ่นแรกๆที่ศึกษาเพศวิถีคนรักเพศเดียวกัน เช่น เบเนดิกท์และมี้ด และโครเบอร์ สันนิษฐานว่าคนในบางสังคมจะมีพฤติกรรมรักเพศเดียวกันมาตั้งแต่เกิดซึ่งอาจจะได้รับการยอมรับและไม่ยอมรับทางสังคม ขึ้นอยู่กับบริบททางวัฒนธรรมที่เอื้ออำนวย
                การเดินตามความคิดของฟูโก้ซึ่งมองว่าโฮโมเซ็กช่วลถูกสร้างขึ้นให้เป็นเรื่องธรรมชาติ สิ่งนี้ผลผลิตในประวัติศาสตร์ตะวันตกเมื่อไม่นานมานี้  วีคส์(1987) อธิบายให้เห็นว่ามีความต่างระหว่างอัตลักษณ์และพฤติกรรมของคนรักเพศเดียวกัน “ฉันเป็นใคร” และ “ฉันทำอะไร” กลายเป็นเรื่องที่แยกจากกันในการวิเคราะห์  การบอกว่า “ฉันเป็นเกย์” เป็นการเชื่อว่าเพศวิถีเป็นส่วนหนึ่งในความเป็นบุคคลในแนวทางที่อาจจะไม่ทำให้เข้าใจได้ต่อคนบางคนซึ่งสัมผัสอวัยวะเพศของชายอื่นหรือหญิงอื่นในสังคมที่ไม่มีคำเรียกการกระทำเช่นนี้  ประสบการณ์ของการไปเที่ยวบาร์เกย์ หรือการร่วมอยู่ในการเมืองของสตรีนิยมเลสเบี้ยน ต่างไปจากการรวมกลุ่มของคนเพศเดียวกันในสังคมที่ไม่ได้สร้างชุมชนจากอัตลักษณ์ทางเพศ  เรื่องที่มีความซับซ้อน คือการเกิดขึ้นของการเมืองของคนชายขอบทางเพศในอเมริกาได้ทำให้แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ที่คงที่สั่นคลอน (อัตลักษณ์โฮโมเซ็กช่วล หรืออัตลักษณ์ทางเพศอื่นๆ) แม้แต่ในสังคมตะวันตกซึ่งเคยจัดประเภทเลสเบี้ยนและไบเซ็กช่วล หรือบูลเด็กเกอร์และโซโดไมต์
                ในงานศึกษาของเฮิร์ดในช่วงหลัง (1991) ข้ามพ้นไปจากการการนำเอาแนวคิดโฮโมเซ็กช่วลในฐานะเป็นอัตลักษณ์ไปอธิบายกับสังคมอื่น  การยินยอมให้เพศวิถีของคนรักเพสเดียวกันเป็นสถานะของตัวตน ซึ่งมองข้ามบริบททางวัฒนธรรมกลายเป็นปัญหาทางวิธีวิทยา   ในการศึกษาประเด็นเพศวิถี นักมานุษยวิทยาไม่อาจศึกษาได้ แต่จะทำให้อารมณ์ความปรารถนาเป็นรูปธรรมได้  การพูดถึงโฮโมเซ็กช่วลในพิธีกรรมในนิวกินี เป็นกาอธิบายว่าการปฏิบัติในแนวนี้มีฐานะเป็นการแลกเปลี่ยนน้ำอสุจิ  หรือเป็น พิธีกรรมส่งน้ำอสุจิให้เด็กชาย  ในกรณีแรก คำว่า โฮโมเซ็กช่วล บ่งบอกถึงเรื่องกามารมณ์และการแลกเปลี่ยนสัมพันธ์ทางเพศของคนเพศเดียวกัน  ส่วนในความหมายอีกแบบหนึ่ง ย้ำให้เห็นความสัมพันธ์เชิงการแลกเปลี่ยน หรือการบริโภคบางสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิต  การสร้างคำรวมๆเช่น คำว่า homosexuality, heterosexuality หรือ crossdressing อาจทำให้เกิดความคลุมเคลือมากกว่าจะทำให้เข้าใจได้
                การเขียนอธิบายเกี่ยวกับเพศสภาพหรือเพศวิถีของคนรักเพศเดียวกันที่มีความทับซ้อนไม่ได้ทำให้นักวิจัยหลุดพ้นไปจากความล่อแหลมทางปรัชญา เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าความหลากหลายของบางสิ่งบางอย่างที่ถูกมองว่ารู้อยู่แล้วหรือรับรู้ได้    คำถามที่ยังคงมีอยู่ นั่นคือ อะไรคือ homosexuality, gender, sexual activity  การปฏิบัติของคิมมามที่มีการหลั่งน้ำอสุจิลงบนร่างของเด็กหนุ่มเพื่อให้เด็กคนนั้นเติบโตเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ในฐานะเป็นแบบแผนพฤติกรรมโฮโมเซ็กช่วลแบบอ้อมๆใช่หรือไม่  และการตีความที่เกิดขึ้นจะมาจากสายตาของใคร
                ผลที่ตามมาของการวิจารณ์ทางวิธีวิทยาได้ย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการมองที่บริบทและความหมาย  การตระหนักรู้ถึงความขาดแคลนของนิยามที่เกิดจากนักพฤติกรรมศาสตร์ซึ่งวางอยู่บนคุณสมบัติแบบทางการ  สามารถทำให้นักสำรวจตั้งสมมุติฐานแบบคนผิวขาว ที่อธิบายว่าเพศวิถีประกอบด้วยเรื่องทางเพศเท่านั้น     นักวิชาการหลายคนที่เขียนเกี่ยวกับสังคมที่แยกอยู่โดดเดี่ยว ซึ่งปัจจุบันนี้กลายเป็นสิ่งที่ยังไม่มีการตีความ และกำลังมีการอธิบายความหมายจากงานเขียน  ตัวอย่างเช่น การศึกษาของวิแกน(1977,1991) เกี่ยวกับชาวโอมานที่ใช้คำเรียกของชนพื้นเมือง “xanith”  มากกว่าที่จะใช้คำว่า transvestite หรือ transsexual  ซึ่งก่อให้การโต้เถียงที่ดุเดือด
                การละทิ้งความเป็นสากลที่มาจากความคิดแบบเพศศาสตร์ เพื่อที่จะไปหาคำเรียกท้องถิ่น คือตัวอย่างของความตึงเครียดในวิชามานุษยวิทยาระหว่างพวกที่ต้องการแสวงหาคำอธิบายเฉพาะ กับพวกที่ต้องการหาคำที่เป็นเอกภาพ การเคลื่อนไปสู่การจัดจำแนกแบบพื้นเมือง ไม่ได้สร้างความเป็นกลางมากไปกว่าการอธิบายก่อนหน้านี้  แต่เป็นการไม่สะท้อนความหมายของโฮโมเซ็กช่วลเท่าที่ควรต่อช่วงโอกาสที่มีอยู่มากมาย  ถึงแม้ว่าจะมีการเลิกลำเอียงและไม่มองแบบฉาบฉวย แต่การใช้คำศัพท์ของพื้นเมืองก็ได้สร้างปัญหาเหมือนกับการสร้างความเป็นอื่น  ปัจจุบันนี้ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรเทียบเคียง คำว่า xanith จึงกลายเป็นคำที่ถูกเชื่อมโยงเข้ากับรูปแบบตะวันออก ซึ่งความหมายทางภาษาศาสตร์บอกถึงความแตกต่างและค้ำจุนอำนาจของงานเขียนทางชาติพันธุ์
                ผลที่ตามมาของการรื้อสร้างความหมายของโฮโมเซ็กช่วลในฐานะเป็นการจัดประเภท  สาขาวิชาที่เรียกว่าเกย์และเลสเบี้ยนศึกษาในมานุษยวิทยา ดูเหมือนจะคล้ายกับเควียร์ศึกษามากกว่าเกย์ศึกษาที่เคยรับรู้กันมา   ถ้าเกย์และเลสเบี้ยน
มีอัตลักษณ์ที่ตายตัว หรืออย่างน้อยเป็น “สิ่ง” ที่เรียกว่าโฮโมเซ็กช่วล  การศึกษาของเควียร์นิยามตัวเองโดยความแตกต่างจากความคิดเรื่อง เพศสภาพและเพศวิถี     ในสังคมตะวันตก พวกแต่งตัวข้ามเพศ buth/femme และพวกชอบเซ็กส์แบบเจ็บปวด กลายเป็นเรื่องเควียร์ที่แตกต่างจากการนำเสนอทางวัฒนธรรมซึ่งเชื่อมโยงความเป็นชายและหญิงเข้ากับอวัยวะเพศและการสังวาสแบบรักต่างเพศในฐานะเป็น “เพศสัมพันธ์ที่แท้จริง”  เช่นเดียวกับเควียร์ศึกษา งานทางชาติพันธุ์จะนำเอาความคิดแบบคนขาวมาเป็นส่วนที่ใช้เปรียบเทียบ   ไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักมานุษยวิทยาบางคนที่อ่านเรื่องเกี่ยวกับเพศวิถีของชายรักชายในกลุ่มคนทางศาสนาในบราซิล ซึ่งเป็นพวกเดียวกับคนที่อ่านเรื่องเกี่ยวกับคนข้ามเพศในหมู่เกาะแปซิฟิก  หรือการปรากฎของหัวข้อในการศึกษาแนวนี้ที่มุ่งไปที่เรื่องเพศสภาพและเพศวิถีซึ่งเป็นการท้าทายบริบทของคนผิวขาว
                งานศึกษาแต่ละเรื่องที่นำมากล่าวในที่นี้ อย่างน้อยมีการพูดถึงแบบแผนของเพศวิถีและเพศสภาพในตะวันตก ซึ่งทำให้เพศสภาพเป็นเรื่องของเพศตามสรีระ  และสร้างวัตถุของอารมณ์ทางเพศให้เกิดขึ้น  ในหลายกรณี นักวิชาการนำเรื่องเหล่านี้ไปเป็นข้อสรุปว่า การปฏิบัติที่ก้าวล่วงนี้คือเป็นเรื่องปกติในบริบททางวัฒนธรรม   นักวิชาการบางคนหยิบประเด็นเกี่ยวกับเพศวิถีขึ้นมาเพื่อปฏิเสธว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน  เช่น โอโบเลอร์(1980) อธิบายว่าแบบแผนในการแต่งงานระหว่างหญิงกับหญิงในชนเผ่านันดีของเคนย่าไม่มีเรื่องเพศสัมพันธ์มาเกี่ยวข้อง  ผู้เขียนจะยังใช้ความหมายของโฮโมเซ็กช่วลและคนข้ามเพศเพื่อที่จะทำให้สะดวกในการศึกษา แต่ผลที่ตามมาคือข้อมูลที่ได้มายังคงเป็นสิ่งที่เควียร์จะนำไปศึกษา
                ในขณะที่มีการถกเถียงในเรื่อง “คำ” ซึ่งยังคงดำเนินต่อไป   ข้อโต้แย้งที่นำมากล่าวในที่นี้มีเรื่องของเกย์และเลสเบี้ยนศึกษาในแนวที่ก้าวหน้า  ในบทความสำคัญของอดัม(1986) อธิบายว่านักมานุษยวิทยาไม่สามารถเข้าใจปรากฎการณ์ที่แฝงด้วยเรื่องของโฮโมเซ็กช่วลได้โดยการมองว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องของเพศวิถีแบบโดดๆ  ในทางปฏิบัติ ปรากฎการณ์เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นในหนทางที่ซับซ้อนซึ่งทำให้เพศวิถีหดสั้นลงโดยการจัดประเภทอายุ หรือเครือญาติ   ปาร์คเกอร์(1991)พยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่มองแบบแยกขั้ว โดยการสำรวจความแตกต่างเล็กๆน้อยๆของการจัดแบ่งประเภท และการใช้คำแสลงของชาวบราซิล   การศึกษาของแลงคาสเตอร์(1988, 1992) เกี่ยวกับการสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเพศวิถีกับรัฐ ซึ่งอธิบายว่าทำไม พวกโคชอนในนิคารากัวจึงไม่สามารถเทียบได้กับโฮโมเซ็กช่วลในทวีปอเมริกาเหนือได้  แลงคาสเตอร์ ชี้ให้เห็นว่าการแบ่งแยกคู่สัมพันธ์ชายกับชายเป็น “ความคิด” และ “ร่างกาย” ของความปรารถนาทำให้เกิดการสร้างชุมชนและการจัดการทางการเมืองในอีกแบบหนึ่ง
                โพวิเนลลี(1992) ค้นพบว่าชนพื้นเมืองในออสเตรเลียหลายกลุ่มจะมองโฮโมเซ็กช่วลในแง่ลบ เมื่อมีคำว่าเกย์ เลสเบี้ยน หรือไบเซ็กช่วลเกิดขึ้นและนำมาใช้กับบุคคลที่ยอมรับพฤติกรรมแบบนี้ซึ่งร่วมอยู่ในพิธีกรรมของสตรี  ในทางตรงกันข้าม สมาชิกในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งเรียนรู้ที่จะตีความพฤติกรรมโฮโมเซ็กช่วลผ่านความคิดเรื่องอัตลักษณ์ เริ่มที่จะไม่สบายใจมากขึ้นกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในพิธีกรรมที่มีบรรยากาศของคนรักเพศเดียวกัน  โรเบิร์ต ลีวี(1971,1973) และนิวตัน(1979,1993) เป็นเพียงคนไม่กี่คนที่แยกแยะอัตลักษณ์ออกจากการล้อเลียน การกล่าวเกินจริง และการการตอกย้ำให้รุนแรง  นักวิชาการเหล่านี้ทำให้ผู้อ่านคิดถึงขอบเขตของเพศวิถีและเพศสภาพที่สามารถทำให้เกิดอารมณ์ขัน เช่นเดียวกันการวิพากษ์ทางวัฒนธรรม
                งานศึกษาที่น่าตื่นเต้นบางเรื่อง สนใจในประเด็นที่มาของคำโดยการตรวจสอบว่าการจัดประเภทเกิดขึ้นเพื่อต่อรองกับอำนาจ การวิเคราะห์ในเรื่องนี้เข้ามาแทนที่คำถามที่ถามเกี่ยวกับว่าคำไหนที่จะถูกต้องที่สุด  ด้วยการชี้ให้เห็นถึงการพิจารณาบริบทที่นำไปสู่การถกเถียงเกี่ยวกับการจัดประเภททางสังคม  ชี้ให้เห็นผลที่เกิดจากความขัดแย้งดังล่าวนี้   และการใช้คำที่มาจากกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง          ในการวิเคราะห์ด้านโครงสร้างภาษาของการเดินพาเหรดเกย์เลสเบี้ยนในชิคาโก เฮอร์เรล(1992) ได้ตรวจสอบการใช้สัญลักษณ์ที่สร้างความหมายของชุมชนเกย์    เอลเลน ลีวิน(1990,1993)แสดงให้เห็นว่าครอบครัวเลสเบี้ยนเผชิญหน้ากับการฟ้องร้องเพื่อสิทธิในการดูแลเด็ก เป็นการสร้างตัวตนเลสเบี้ยนในฐานะการเป็นแม่ที่ดีและการเป็นผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จในการได้เป็นแม่  คำบอกเล่าในงานของเฮิร์ด(1990) มีการพูดถึงการเป็นกะเทยแท้ในสังคมแซมเบีย ทำให้เกิดการอธิบายเกี่ยวกับประโยชน์ของการแสดงตัวตนในฐานะเป็นสมาชิกของคนเพศที่สาม (ที่ตรงข้ามกับเพศหญิงและเพศชาย) ในการศึกษาคำร้องของประชาชนที่เกิดจากคนข้ามเพศที่ถูกไล่ออกจากงานของสายการบิน  โบเวอร์(1992) ศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินการทางศาลที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในขณะที่คนข้ามเพศพยายามเรียกร้องให้มีการนำการแบ่งแยกเพศสรีระและเพศสภาพกลับมาใช้อีก   โกลด์เบิร์ก(1991) เขียนบทความเกี่ยวกับการแสดงออกของเรือนร่างของคนพื้นเมืองในทัศนะของชาวสเปนหลังจากที่ชาวยุโรปบุกรุกเข้ามาในอเมริกา สิ่งนี้สะท้อนว่า มีความกำกวมเกี่ยวกับคำเรียกโซโดมีอย่างไร ซึ่งทำให้คำๆนี้ถูกเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะหยุดยั้งความขัดแย้งทางการเมือง  การศึกษาแต่ละเรื่องช่วยทำให้ผู้อ่านรู้ว่าไม่มีใครที่จะได้ประโยชน์จากความขัดแย้งเกี่ยวกับการสร้างคำนิยามมากไปกว่าคนที่ทำให้ตัวเองเข้าไปอยู่ในการจัดประเภททางวัฒนธรรมนั้น

เด็กชายอยู่ที่ไหน

                อย่างไรก็ตาม การทำลายความน่าเชื่อถือของแนวคิดเกี่ยวกับโฮโมเซ็กช่วลที่เป็นทางการซึ่งตอนนี้ดูเหมือนนักวิชาการได้ทำให้สถานะของโฮโมเซ็กช่วลมีปัญหาในแง่ที่เป็นคำเรียกหลัก  แนวคิดนี้บ่งชี้ว่าสังคมต่างๆสามารถทำให้พฤติกรรมทางเพศเป็นเรื่องปกติและเป็นสิ่งที่พบได้ประจำ    ภายใต้โอกาสที่ดี ทำให้นักมานุษยวิทยาเริ่มรวบรวมข้อมูลเข้ากับเขตพื้นที่มีลานีเซียและอเมริกาเหนือ   ทำไมพื้นที่เหล่านี้จึงกลายเป็นพื้นที่หลักสำหรับนักมานุษยวิทยา คำถามนี้ทำให้เกิดการตรวจสอบการทำงานของนักมานุษยวิทยา  ในปัจจุบัน ดูเหมือนจะมีการสำรวจโฮโมเซ็กช่วลในพิธีกรรมในมีลานีเซียและคนที่เป็นเบอร์ดาเชในชนพื้นเมืองอเมริกาเหนือซ้ำอีกครั้ง    ผู้เขียนได้ทบทวนแนวคำถามในพื้นที่ทั้งสองนี้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สร้างแบบแผนการศึกษาโฮโมเซ็กช่วลในภาพรวม  ในพื้นที่ทั้งสองแห่งนั้น นักมานุษยวิทยาสนใจไปที่เรื่องกระบวนการซึ่งเด็กชายวัยรุ่นปฏิบัติและไม่ปฏิบัติต่อการเป็นผู้ชาย
                ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา งานศึกษาเกี่ยวกับเพศวิถีคนรักเพศเดียวกันและความเป็นชายในมีลานีเซียได้ขยายตัวอย่างมีการสนับสนุน  งานส่วนใหญ่ในพื้นที่นี้ดำเนินรอยตามความคิดของเฮิร์ดที่ศึกษาเรื่องชาวแซมเบียในกรอบคิดเกี่ยวกับสัญลักษณ์และการเปลี่ยนผ่านทางอารมณ์  ในงานวิจัยช่วงแรกๆมีการอ้างถึงการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของคนเพศเดียวกันในช่วงที่มีพิธีกรรมย่างเข้าวัยหนุ่มซึ่งปัจจุบันได้ปูทางให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของพิธีนี้ เพื่อการวิเคราะห์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมในเขตวัฒนธรรมนี้
                กลุ่มคนในมีลานีเซียหลายกลุ่มมองว่าน้ำอสุจิเปรียบเสมือนเป็นการเยียวยารักษาและเป็นสสารที่ทำให้มีพลัง เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเติบโตของเด็กชายซึ่งจำเป็นต่อการใช้ชีวิต  ขึ้นอยู่กับแต่ละสังคม ที่พิธีกรรมเข้าสู่วัยหนุ่มอาจต้องมีสิ่งเหล่านี้โดยการใช้ปากสำเร็จความใคร่ให้ชายที่แก่กว่า หรือโดยการเป็นผู้ถูกสอดใส่ทางทวารหนัก หรือการถูไถอสุจิลงบนร่างกาย  จากการศึกษาของเฮิร์ด อธิบายว่าการปฏิบัติเช่นนั้นจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาของการสร้างความเป็นชายซึ่งทำให้พิธีย่างเข้าสู่วัยหนุ่มเกิดขึ้นพร้อมๆกับการเป็นผู้ชายเต็มตัว
                การตีความอีกแนวหนึ่งของพิธีนี้เกิดมาจากการวิจารณ์งานของเฮิร์ดและนักวิชาการคนอื่นๆ ซึ่งเปลี่ยนความสนใจจากเรื่องจิตวิทยาไปสู่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ หรือปัจจัยทางสังคมเชิงชีววิทยา   ตัวอย่างการศึกษาของครีด(1984)  มองว่าเรื่องเซ็กส์ถูกนำมาอยู่ในพิธีกรรมเข้าสู่วัยหนุ่มในฐานะเป็นเครื่องมือที่ผู้ชายที่แก่กว่าจะรักษาการควบคุมเด็กชายที่อายุน้อยกว่า  จากการศึกษาของแลตตัส(1990) ชี้ว่าการแลกเปลี่ยนน้ำอสุจิในเขตคาลีไอของเวสต์ นิวบริติช ทำให้เกิดการเปรียบเทียบกับการแลกเปลี่ยนของกำนัล หรือเป็นการผสมพันธุ์ด้วยอารมณ์สุนทรีย์ ซึ่งทำให้ผู้ชายมีความเป็นหญิง และเกี่ยวข้องกับการต่อรองกับอำนาจในท้องถิ่น  ไวท์เฮดแสดงความพอใจว่ากลุ่มคนในเขตที่สูงของนิวกินีหลายกลุ่มยกย่องความสามัคคีในกลุ่มตระกูลเหนือกว่าความเป็นชายในพิธีกรรมสืบเผ่าพันธุ์ เอลลิสัน(1992) อธิบายว่าการแลกน้ำอสุจิกลายเป็นสิ่งที่รวมอยู่กับการแลกเปลี่ยนเชิงสมรส การเป็นปึกแผ่นทางสังคม หรือการสร้างความปลอดภัยในแรงงาน ซึ่งรวมทั้งการทำงานบริการของเจ้าสาวในขณะที่ผู้ชายยังอยู่ในช่วงวัยรุ่นที่ต้องเข้าพิธีย่างเข้าสู่วัยหนุ่ม
                งานศึกษาเกี่ยวกับมีลานีเซียมีชื่อในเรื่องการแสดงตัวตนทางเพศ  ถึงแม้ว่าจะใช้กรอบความคิดแบบจิตวิทยาพัฒนาการ มากกว่าจะมองแบบทฤษฎีเควียร์  นอกสังคมมีลานีเซีย คำอธิบายเกี่ยวกับอารมณ์ปรารถนาและกามารมณ์เป็นเรื่องที่ไม่ปรากฎ   นอกจากบทความของนิวตัน(1993) ที่อธิบายเกี่ยวกับการทำงานภาคสนามแบบกามารมณ์ในสหรัฐอเมริกา และการศึกษาของเคนเนดีและเดวิส(1993)เกี่ยวกับประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของเลสเบี้ยนในเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ค  นักมานุษยวิทยาหลายคนพยายามค้นหาหลักฐานเกี่ยวกับกิจกรรมโฮโมเซ็กช่วลอย่างระมัดระวังซึ่งอาจเชื่อมโยงพฤติกรรมเข้ากับความเชื่อเกี่ยวกับเพศสภาพ ความเป็นผู้ใหญ่ หรือความเป็นบุคคล  แต่ไม่ค่อยมีการพูดถึงคำถามว่าการเก็บข้อมูลในพื้นที่ได้พบพฤติกรรมที่น่าพอใจหรือไม่  บุคคลที่มองหาโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนอสุจิ จะมีความสนุกในการกระทำแบบนี้หรือไม่ หรือ การกระทำเช่นั้นเพราะเป็นข้อกำหนดทางวัฒนธรรมหรือไม่
                การพูดถึงคำถามที่น่าอายเหล่านี้ หมายถึงการเห็นความล่อแหลมของโครงสร้างที่มีต่อตัวคน เช่นเดียวกันการอนุรักษ์การจัดประเภทอารมณ์ความปรารถนาในเขตมีนาลีเซียที่มาจากความคิดของคนผิวขาว   เฮิร์ดและสโตลเลอร์(1990)ได้เสนอการปฏิบัติเกี่ยวกับกามารมณ์ที่อยู่นอกสังคมของคนผิวขาว    นาฟต์(1986) วิเคราะห์เกี่ยวกับความปรารถนาในงานเขียนเกี่ยวกับชาวเกบูซี ซึ่งเป็นกรณีที่โดดเด่นที่ชี้ให้เห็นถึงการรุกล้ำของกฎระเบียบและบรรทัดฐาน ซึ่งมีอยู่ในตัวนักมานุษยวิทยามาช้านาน
                 เนื่องจากชายที่มีอายุมากกว่ากับเด็กหนุ่มชาวแซมเบียที่ต้องทำตามวัฒนธรรม พวกเขาจะเลิกแลกเปลี่ยนน้ำอสุจิหลังจากที่แต่งงานแล้ว  กรณีนี้เป็นการตอบโต้การแบ่งแยกแบบสุดขั้วของการจัดบุคคลเป็นรักต่างเพศและรักเพศเดียวกัน  งานวิจัยหลายเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ชายกับชายในสังคมมีลานีเซียทำให้นักวิชาการหลายคนรู้จักการศึกษาเพศสภาพพร้อมกับข้อมูลที่ท้าทายต่อการทำให้เพศวิถีเป็นแค่เรื่องความจริงตามธรรมชาติ  กลุ่มคนในมีลานีเซียบางกลุ่มคิดว่าการแลกน้ำอสุจิเป็นขั้นตอนสำคัญต่อการเติบโตเป็นชายเต็มตัว  ความเข้าใจของคนทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องนี้ทำให้เกิดความตึงเครียดกับความคิดของชาวผิวขาวเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชายในฐานะที่เป็นการแสดงความเป็นหญิง ในปัจจุบันนี้เป็นที่รู้กันว่าการมีเพศสัมพันธ์ของคนเพศเดียวกันเป็นที่ยอมรับได้ในสังคมบางแห่ง แต่ความพยายามที่จะแสดงออกถึงบุคลิกของการกระทำนี้เป็นเรื่องของการมองแบบ Relativism และ Romanticism
                ถ้าข้อมูลจากมีลานีเซียทำให้คนอื่นรู้สึกคล้อยตามโดยการแสดงภาพสังคมที่โฮโมเซ็กช่วลเป็นเรื่องปกติ การศึกษาคนที่เป็นเบอร์ดาเช่ในอเมริกาเหนือ ก็ทำให้เกิดจินตนาการเกี่ยวกับสังคมซึ่งโฮโมเซ็กช่วลเป็นเรื่องที่ยอมรับและก้าวล่วง  เบอร์ดาเช่คือคเรียกอีกคำหนึ่งซึ่งนักมานุษยวิทยาเคยใช้เพื่ออธิบายผู้ชาย ซึ่งดำรงสภาพด้วยเสื้อผ้า การปฏิบัติ แบบเพศตรงข้ามและมีคู่เป็นชาย การศึกษาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับเบอร์ดาเช่เกิดก่อนการมาถึงของเกย์และเลสเบี้ยนศึกษา  การศึกษาหลายชิ้นที่สนใจเบอร์ดาเริ่มจากงานของแองเจลิโนและเช็ดด์(1955) ซึ่งเรียกร้องให้มีการสร้างความกระจ่างเกี่ยวกับความหมายของเบอร์ดาเช่ เช่นเดียวกับมีลานีเซีย นักวิชาการเหล่านี้สนใจเพศชายโดยเฉพาะ นอกเขตอเมริกาเหนือ นักมานุษยวิทยาหลายคนทำงานในแบบเดียวกันระหว่างการศึกษาเบอร์ดาเช่กับคนข้ามเพศ ซึ่งนำไปเชื่อมโยงถึงบุคลิกแบบมาฮูในฮาวาย หรือ ซาโรมบาวีในมาลากาซี
                เชื่อกันว่าเบอร์ดาเช่เป็นการจัดระเบียบเพศสภาพของแรงงาน ของการแต่งกาย และพฤติกรรมทางเพศ นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเบอร์ดาเช่จะพบได้ในสังคมที่มีการปฏิบัติของคนรักเพศเดียวกัน  สิ่งนี้มิได้บ่องบอกว่านักวิจัยจะเห็นด้วยเกี่ยวกับเพศวิถีของคนรักเพศเดียวกันซึ่งเป็นส่วนจำเป็นหรือเป็นส่วนประกอบของการเป็นเบอร์ดาเช่  การศึกษาหลายชิ้นมีการค้นหาสถาบันที่รองรับคนเหล่านี้ มีการถามว่าเบอร์ดาเช่ในสังคมเป็นเรื่องของความชอบส่วนตัว เป็นเรื่องจิตวิญญาณ เป็นเพศวิถีหรือเป็นแค่การแต่งกาย  แน่นอนที่ไม่ใช่เบอร์ดาเช่ทุกคนจะมีคู่ครองเป็นเพศชายเสมอไป
                ประเด็นที่ว่าเบอร์ดาเช่เป็นที่ยอมรับหรือไม่ หรือแม้แต่ได้รับการยกย่องหรือไม่ สมาชิกในสังคมประเภทนี้มีการโต้แย้งกันอย่างดุเดือด  ในบทความเกี่ยวกับพัฒนาการของสถาบันเบอร์ดาเช่ กูเตียเรศ(1989) อธิบายว่าเบอร์ดาเช่ถือกำเนิดมาในฐานะเป็นนักโทษในสงครามซึ่งผู้ที่จับกุมต้องการให้พวกเขาสวมชุดสตรีและร่วมรักกับผู้ชายเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นคนด้อยกว่า  ในทางตรงกันข้าม กรีนเบิร์ก(1986) เชื่อว่าจากหลักฐานที่เบอร์ดาเช่เป็นเป้าหมายของการยั่วยุหรือการตำหนิในหมู่เครือญาติมากกว่าจะถูกวิจารณ์  เนื่องจากความสัมพันธ์แบบเบอร์ดาเช่เกี่ยวโยงกับเรื่องเครือข่ายของเครือญาติ ดังนั้นเบอร์ดาเช่จึงมีคู่แบบตลกเฮฮา และกลายเป็นคนที่ถูกปฏิเสธ เช่นเนรเทศเพราะฝ่าฝืนประเพณี  รอสโคและวอลเตอร์ แอล วิลเลียมส์ (1992) ซึ่งเคยพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งคู่สรุปว่าเบอร์ดาเช่ได้รับการนับถืออย่างสูง ในช่วงเวลาที่โกลเด้นไวเซอร์ศึกษาเรื่องนี้ (1929) มองเบอร์ดาเช่แบบอุดมคติและถูกอ้างในงานของเอ็ดเวิร์ด คาร์เพนเตอร์ที่อธิบายว่าโฮโมเซ็กช่วลเปรียบเสมือนวีรบุรุษทางวัฒนธรรม ซึ่งส่องประกายทางเดินใหม่ในการท้าทายกฎเกณฑ์ที่สังคมสร้างไว้
                ประเด็นที่สองเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ เบอร์ดาเช่ยังคงมีอยู่ในสังคมพื้นเมืองอเมริกาหรือไม่  วอลเตอร์ วิลเลียมส์(1992) บอกว่ายังมีอยู่ ถึงแม้ว่าเขาจะเชื่อว่าสถาบันเบอร์ดาเช่ที่เป็นทางการอาจจะเปลี่ยนแปลงไปแล้ว  ตัวอย่างเช่น การแต่งตัวข้ามเพศ จะมิใช่การปฏิบัติของเบอร์ดาเช่อีกต่อไป  เฮิร์ด(1991) อธิบายว่า ไม่มีเบอร์ดาเช่แล้ว และตำหนิการบุกรุกของชาวผิวขาวที่ทำให้เบอร์ดาเช่หายไป  ชาวอินเดียนในอเมริกาที่นิยามตัวเองว่าเป็นเกย์และเลสเบี้ยนเคยเขียนเรื่องราวของเบอร์ดาเช่โดยการนำตัวเองเข้าไปอยู่ในการเป็นเบอร์ดาเช่ที่ยังมีชีวิตอยู่ 
                ยังมีแนวการศึกษาอีกแนวหนึ่งในการอธิบายเบอร์ดาเช่ ซึ่งต่างไปจากการค้นหาสถาบันหรือขนบธรรมเนียม  ประเภทของคำถามที่ถามว่าเบอร์ดาเช่อาจจะต่างไปถ้านำมาอธิบายด้วยแนวคิดทฤษฎีสมัยใหม่ที่พัฒนามาจากสาขาวิชาอื่นๆ  ตัวอย่างเช่น การศึกษาของซิลเวอร์แมน(1992) เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการเลียนแบบเบอร์ดาเช่ของบุคลิก “วีวา”  การศึกษาของโรสโค(1991) ในวัฒนธรรมของชาวซูนีซึ่งมีบุคลิกภาพแบบ อิฮามาน่า ในบทความของลอว์เรนซ์เกี่ยวกับชาวอะราเบีย การศึกษาหนังเรื่อง Lawrence of Arabiaของซิลเวอร์แมนเกี่ยวกับการปฏิบัติแบบแต่งตัวข้ามเพศ ทำให้ลอว์เรนซ์ไม่อาจเลียนแบบชาวอาหรับได้ หรือเป็นชาวอาหรับไม่ได้ แต่เป็นอาหรับที่มิใช่อาหรับ  การแสดงตัวเป็นช่างตัดเสื้อเป็นการสร้างความเป็นอาหรับของลอว์เรนซ์ในจิตนาการของชาวยุโรปมากกว่าเป็นการปรับตัวทางวัฒนธรรม หรือการส่งต่อความรู้ทางสังคม    จากความอยากเป็นอาหรับ ทำใหเกิดการเลียนแบบการแปลความหมายเกี่ยวกับการเป็นอาหรับ ซึ่งทำให้ลอว์เรนซ์หวังที่จะเพิ่มอำนาจของตัวเอง
                ในการเลียนแบบเบอร์ดาเช่  ซึ่งมีการอธิบายโดยนักมานุษยวิทยาว่าเป็นการทำงานของผู้หญิงที่ดีกว่าผู้หญิง  ด้วยการทำงานทางชาติพันธุ์ทำให้มีการตีความต่างไปจากเดิมว่า   ทั้งการเป็นผู้ก่อกบฎและผู้เลียนแบบ เป็นการสร้างตำแหน่งแห่งที่มากกว่าจะเป็นการจัดลำดับของเพศสภาพ การปฏิบัติของวีว่าในการเป็นเบอร์ดาเช่เป็นการต่อรองกับอำนาจในฐานะวีว่าเป็นผู้ที่สร้างตัวตนของตัวเอง  การอธิบายในแนวนี้ เบอร์ดาเช่จะปรากฎขึ้นในฐานะวิธีการแสดงความหมาย เป็นหญิงมากกว่าผู้หญิง  อย่างไรก็ตาม  ในสายตาของนักมานุษยวิทยาทั้งหลาย เบอร์ดาเช่กลายเป็นเพศสภาพที่แยกกันอยู่ในคนๆเดียวกัน


ข้ามไปจากการแบ่งแยกขั้ว

                การศึกษาทางชาติพันธุ์เกี่ยวกับคนข้ามเพศมิได้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในแนวนี้ที่สนใจทฤษฎีเพศสภาพ แต่ถ้าความมั่นใจเกินไปต่อแนวคิดเช่น การจัดระเบียบสังคม และบททบาทเพศสภาพ  ที่ดูเหมือนจะทันสมัย  ดังนั้นกระบวนการสร้างตัวตนของเพศสภาพที่ซับซ้อนเกิดขึ้นในหลายสาขาวิชา  รอสโค(1991) พิจารณาว่า อิฮามาน่าในชนเผ่าซูนี เป็นพวกเพศที่สาม  วิกัน(1991) บอกว่าซานิธของโอมานก็เป็นเพศที่สาม  ผู้ชายที่สวมทั้งเสื้อผ้าสตรีและบุรุษและทำให้ตัวเองเป็นหญิงในบางบริบท แต่คนพวกนี้ทำบางสิ่งที่ผู้หญิงไม่ทำด้วย เช่นเดินทางไปไหนต่อไหนอย่างอิสระ ในเรื่อง Neither Man nor Woman นันดา(1986) อธิบายว่าฮราสในอินเดีย คือผู้ชายที่อุทิศตัวให้เทพธิดาบูชาคารา มาตา ซึ่งบางผู้ที่ทำให้เกิดพิธีทำหมัน สิ่งนี้อาจมองว่าเป็นเพศสภาพที่แยกต่างหาก เพราะฮิราสทำลายบทบาทความเป็นหญิงและชาย  ในแต่ละกรณี คนข้ามเพศจะเกี่ยวข้องกับการนำผู้ชายมาเป็นคูความสัมพันธ์ทางเพศในบางโอกาส
                ไม่นานมานี้ นักวิชาการหลายคนพูดถึงการแสดงเพศสภาพสลับด้าน มากกว่าจะพูดถึงคนข้ามเพศและเพศสภาพที่แตกต่าง  เพศสภาพสลับด้านคือการเปลี่ยนจากเพศสภาพหนึ่งไปเป็นอีกเพศสภาพหนึ่งภายใต้ความเป็นหญิงชายที่ตายตัว แต่การเป็นคนข้ามเพศทำให้เห็นความเป็นไปได้หลายอย่างภายใต้การจัดประเภทเพศสภาพ เพศสภาพสองแบบมิใช่สิ่งที่สลับไปมาได้  กรีนเบิร์ก(1986) เชื่อว่าทั้งเพศสภาพสลับด้านและเพศที่สามอาจมีอยู่ในกลุ่มคนพื้นเมืองในอเมริกา  ส่วนกรณีกะเทยแท้ เฮิร์ดเชื่อว่าหลักฐานจะนำไปสู่การวิจารณ์จากประชากรส่วนใหญ่เมื่อรู้ว่ามีเพศที่สามอยู่จริง
                นักวิชาการหลายคนมีแนวโน้มที่จะเป็นพวกแก่นแท้นิยม (essentialism)  บทบาทของเพศที่สามทำให้เกิดทางเลือกของคนหนุ่มสาวซึ่งเกิดมาแตกต่างจากคนอื่น จะทำให้ตัวเองเป็นคนที่แปลกประหลาดซึ่งเกิดขึ้นมาในสังคมที่มีเพียงสองเพศสภาพ คำอธิบายอีกแนวหนึ่งมองไปที่บุคลิกของเพศสภาพที่ถูกสร้างขึ้นทางสังคม  วิกัน(1977) อธิบายว่าโอมานเป็นสังคมของรักต่างเพศ  (ซึ่งซานิธในโอมานจะแสดงออกไม่ได้) มากกว่าจะอธิบายว่าการมีอวัยวะเพศที่ต่างไปกลายเป็นเพศสภาพที่ถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นแบบแผน
                ความสนใจส่วนใหญ่ที่มีต่อความคิดที่ว่าสังคมมีเพศสภาพที่หลากหลาย เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ เพราะความคิดเห็นนี้สวนทางกับวิธีคิดแยกขั้วเพศสภาพเป็นสองด้านของชาวผิวขาว  แต่มีปัญหาที่เกิดขึ้นต่อการวิเคราะห์ในแนวนี้  นักวิชาการหลายคนยังคงมีความคลุมเคลือเกี่ยวกับสิ่งที่สร้างการจัดประเภทให้เหมาะสมเป็นเพศสภาพที่ต่างกัน    อะไรที่ทำให้เบอร์ดาเช่เป็นตัวอย่างของเพศสภาพที่คลุมเคลือ หรือเป็นความหลากหลายของความเป็นหญิงและชาย และเริ่มกลายเป็นเพศสภาพในแบบของตัวเอง ไม่มีคำอธิบายที่น่าพอใจสำหรับการอธิบายว่าทำไมประเภทของเพศสภาพจึงถูกจัดวางในตำแหน่งต่างๆซึ่งดูเหมือนจะมีเพียงสอง หรือสามตำแหน่ง มากกว่าจะเป็นห้าหรือเจ็ดตำแหน่ง หรือทำไมการจัดประเภทเหล่านี้จึงไม่มีคู่ของเพศหญิง ยังไม่มีการสำรวจที่ชัดเจน ซึ่งเป็นภาพสะท้อนที่แปลกประหลาดระหว่างการค้นพบทางมานุษยวิทยาเกี่ยวกับเพศสภาพที่หลากหลาย และการจัดประเภทของโฮโมเซ็กช่วลของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในฐานะเป็นเพศที่สามที่อยู่ตรงกลางระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย
                ในขณะที่นักมานุษยวิทยาบางคนกำลังตรวจสอบความเป็นไปได้ของเพสศภาพที่ทับซ้อน นักวิชาการคนอื่นๆก็เริ่มพัฒนาการอธิบายเกี่ยวกับการแยกขั้วระหว่างผู้ชายและผู้ชาย  นิวตัน(1979)อธิบายว่าชั้นที่ซับซ้อนของการแสดงความหมายต่อความเป็นชายและความเป็นหญิงในการแสดงของเรือนร่าง เสื้อผ้า และท่วงท่าที่รู้จักในนามการแสดงแต่งหญิง  เกล รูบิ้น(1992) กล่าวถึงการวิจารณ์ที่ทำให้พวกบุช เป็นผู้ชาย เมื่อมีการอธิบายเกี่ยวกับเลสเบี้ยนในอเมริกาว่าไม่เข้าใจความหมายที่ซ่อนอยู่ที่สัมพันธ์กับคำซึ่งแสดงความแตกต่างของสมาชิกในกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน พร้อมๆกับความคิดของเพศสภาพที่ดำเนินคู่กันไป  การชี้ความต่างระหว่างเพศสภาพชั้นต้นกับขั้นที่สอง ซึ่งแต่ละสังคมจะกำหนดให้  โรเบิร์ตสัน(1989,1991,1992) สามารถสำรวจรูปแบบการแสดงออกของเพศหญิงและเพศชายโดยสมาชิกของละครเพลงที่เป็นผู้หญิงทั้งหมดในสังคมญี่ปุ่น
                ในการถกเถียงเกี่ยวกับโฮโมเซ็กช่วลและการแสดงความเป็นชายในยุคกรีกโบราณ วิงเลอร์ตรวจสอบว่าความเป็นชายและหญิงมีความสัมพันธ์และเป็นเรื่องทางการเมืองในสังคมอย่างไร ซึ่งสังคมรับรู้แต่เพียงเพศสภาพสองแบบ  แทนที่จะนำเสนอคำอธิบายเกี่ยวกับการเป็นชาย วิงเลอร์ชี้ว่าสมาชิกของชนชั้นสูงสร้างบรรทัดฐานนี้ขึ้นมาเพื่อทำลายศัตรูทางการเมือง  การควบคุมกลายเป็นสิ่งที่เกี่ยวโยงกับการปกครองของนครรัฐที่ๆซึ่งมีคู่ตรงข้ามพยายามค้นหาหลักฐานที่บอกว่าผู้ชายยอมจำนนต่อการพลักกลับด้านของความเป็นผู้ชาย ซึ่งเป็นอันตรายต่อการเคลื่อนไปสู่ความเป็นหญิงหรือการเป็นทาสรับใช้
                นักวิชาการอื่นๆที่ข้ามพ้นไปจากคู่ตรงข้ามไม่ได้ทำให้ความเป็นปกติเกิดขึ้นกับเพศสภาพที่ซับซ้อนเหล่านั้น   ตัวอย่างเช่น  โพวิเนลลี(1992) อธิบายช่วงเวลาพิธีกรรมซึ่งผู้หญิงอาวุโสพื้นเมืองในออสเตรเลียกลายเป็นผู้ชายและผู้ชายในพิธีนั้น      เกล รูบิ้น(1992)ยกประเด็นเกี่ยวกับคนข้ามเพศจากหญิงไปเป็นชาย ซึ่งทำให้พรมแดนเรื่องเพศคลุมเคลือโดยการทำให้เรือนร่างเป็นครึ่งๆกลางๆ มากกว่าที่จะผ่าตัดแปลงเพศให้สมบูรณ์  การทำงานในแนวมานุษยวิทยากฎหมายและทฤษฎีการเมือง โบเวอร์(1992) ใช้กรณีศึกษาทางกฎหมายเพื่อที่จะเปลี่ยนประเด็นถกเถียงไปสู่เรื่องการเมืองซึ่งฝังรากอยู่ในกระบวนการเกี่ยวกับการวินิจฉัยการจัดจำแนกบุคคลตามเพศสรีระ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งเป็นเพศชาย เพศหญิง หรือคนข้ามเพศ  ในการสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับเกย์เลสเบี้ยนในสหรัฐว่าถูกสร้างมาได้อย่างไร   คูม(1992) ตรวจสอบการใช้ภาพลักษณ์ของคนดัง เช่น เจมส์ ดีน , จูดี้ การ์แลนด์, เกรตา การ์โบ หรือดาราฮอลลีวู้ดอื่นๆ เพื่อที่จะสร้างการแสดงเกี่ยวกับเพศสภาพที่ต่างไป

เอดส์และยุคเรเนซองแห่งอเมริกา

                ไมใช่การประเมินต่ำไปเกี่ยวกับอิทธิพลที่มีต่อความน่าตื่นเต้นทางวิชาการต่อความคลุมเคลือทางเพศและความไม่เป็นเอกภาพของอัตลักษณ์ เพราะการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ซึ่งเกิดขึ้นกับอัตลักษณ์ที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมย่อยของชาวเกย์  เพราะกิจกรรมทางเพศที่กลายเป็นช่องทางอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อไวรัสเอชไอวี  โรคระบาดนี้เป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดความสนใจทางมานุษยวิทยาต่อประเด็นเกี่ยวกับเพศวิถี  ในขณะที่มีการศึกษาเอดส์หลายเรื่องในช่วงทศวรรษ 1990 แต่การศึกษาส่วนใหญ่ยังคงสนใจแต่การแพร่ระบาดและเรียกร้องการทำวิจัย  ถึงแม้จะขาดเงินทุนสำหรับการวิเคราะห์ที่อาศัยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ก็ยังมีงานวิจัยบางเรื่องที่ศึกษาทางชาติพันธุ์ปรากฎขึ้น
                ถึงแม้ว่านักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวกับเอดส์จะทำวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อและการปฏิบัติเรื่องเพศของเกย์และไบเซ็กช่วลในสหรัฐอเมริกา  แต่ไม่มีการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบกับกลุ่มเลสเบี้ยน  การศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญให้ความสนใจไปที่ปรากฎการณ์ เช่น ผลกระทบของการแสดงออกเกี่ยวกับโรคต่อกลุ่มวัยรุ่นในยุคของเอชไอวี  การศึกษาไม่กี่เรื่องที่ที่แสดงให้เห็นผลกระทบของการทำให้โฮโมเซ็กช่วลเป็นเรื่องทางการแพทย์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในอีดตที่ผานมาก็เคยเป็นเช่นนี้และทำให้โฮโมเซ็กช่วลถูกกดขี่ข่มเหงและถูกจัดการในสังคมของตะวันตก  มีบทความไม่กี่เรื่องเท่านั้นที่สนใจถกเถียงเกี่ยวกับเอดส์ในเรื่องการจัดประเภทเช่นกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเกิดขึ้นกับอัตลักษณ์ทางเพศทุกแบบ แต่กลุ่มเกย์ เลสเบี้ยนและไบเซ็กช่วลยังคงเป็นกลุ่มประชากรที่ได้รับความสนใจ  เมื่ออัตลักษณ์ทางเพศเกี่ยวกับเอดส์ งานวิจัยทางมานุษยวิทยาก็ยังเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่
                นอกประเทศสหรัฐอเมริกา   ข้อเสียเปรียบของการใช้วิธีวิทยาแบบมานุษยวิทยาที่ประยุกต์กับการศึกษาโรคเอดส์ ซึ่งแพร่กระจายอยู่ในส่วนต่างๆของโลกก็กลายเป็นสิ่งที่น่าคิด การศึกษาของปาร์เกอร์ในบราซิลและการศึกษาของคาร์เรียร์ในเม็กซิโก ได้ท้าทายวิธีวิทยาที่มองเกย์เป็นสมาชิกคนหนึ่งในชุมชนหรือในวัฒนธรรมย่อย   การค่อยๆก่อตัวของชุมชนแบบนี้ในเขตเมืองซึ่งมีรูปแบบการสร้างชุมชนจากเพศวิถีของคนรักเพศเดียวกัน แสดงให้เห็นความผ่อนคลายต่อสถานการณ์เอดส์ซึ่งมีอยู่ทั่วไป  ตัวอย่างในเม็กซิโก ชายหลายคนที่มีเซ็กส์กับสตรีและกับผู้ชายไม่ได้มองตัวเองเป็นเกย์  อัตลักษณ์ซึ่งมักจะกลายเป็นเรื่องทางเพศที่ถูกจัดประเภทให้เป็น activo กับ pasivo หรือ ฝ่ายรุกและฝ่ายรับ มากกว่าจะเป็นเรื่องของทางเลือกส่วนบุคคล  ในสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน คนส่วนใหญ่ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนเพศเดียวกันโดยมิได้แสดงอัตลักษณ์เกย์และเลสเบี้ยนก็เป็นกลุ่มคนที่ถูกมองต่อการเปลี่ยนแปลงการศึกษาโรคเอดส์   โครงการการให้ความรู้โรคเอดส์ในอเมริกาเหนืออาจจะเปลี่ยนไปเป็นสิ่งที่มีประโยชน์น้อยต่อสังคมซึ่งมีการแสดงออกทางเพศที่ต่างออกไป
                ไม่มีอะไรที่จะมุ่งความสนใจไปที่โรคระบาดซึ่งทำให้เกิดการวิจัยที่ไร้ประโยชน์ในทางปฏิบัติซึ่งจะช่วยพัฒนาโครงการป้องกันต่างๆ  โบลตัน(1991)ชี้แนะว่านักวิจัยที่เน้นย้ำต่อการมีส่วนร่วมในการทำวิจัยภาคสนาม  นักมานุษยวิทยาที่ศึกษาเพศวิถีต้องพิจารณาตนเองกับวิธีการรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลและรูปแบบของการบอกเล่าตัวตนแบบอื่นๆใช่หรือไม่  โบลตันกล่าวว่า ในยุคที่คนจำนวนมากรู้ว่าพวกเขาถูกคาดหวังให้มีเพศสัมพันธ์แบบปลอดภัย มีทางเดียวที่จะตัดสินใจว่าการปฏิบัติของผู้คนเป็นไปตามที่เขาบอก ก็คืออย่างน้อยให้นักมานุษยวิทยาบางคนมีเซ็กส์ในระหว่างที่ทำวิจัย  โบลตันอธิบายว่าจริยธรรมและการสงวนท่าทีของตนต้องการให้นักมานุษยวิทยามีเซ็กส์แบบปลอดภัย หรือทำลายปฏิกิริยาถ้าคู่ขาคนนั้นเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงโดยปราศจากการป้องกัน    โบลตันชี้ว่าการทำอะไรที่เสี่ยงเมื่อชีวิตมีเดิมพัน จะเป็นเรื่องของการกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบไปโดยปริยาย  การที่โบลตัวเรียกร้องให้มีการทำงานวิจัยแบบมีส่วนร่วมในประเด็นเพศวิถีเป็นเรื่องที่เคยมีมาแล้ว ดูได้จากการวิจัยของฮัมฟรีย์(1975) เกี่ยวกับ Tearoom Trade ซึ่งในช่วงที่นักมานุษยวิทยาเข้าไปเป็นผู้สังเกตการณ์ในห้องน้ำที่มีผู้ชายหลายคนมาหาเซ็กส์ หรือการวิจัยของเมอร์เรย์ (1991) เกี่ยวกับการหลับนอนกับคนพื้นเมืองเพื่อที่จะได้ข้อมูล   ประเด็นเกี่ยวกับชีวิตและความตายเกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของเอชไอวีซึ่งกลายเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับความล่อแหลมของการศึกษาเซ็กส์ในสังคมซึ่งถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนบุคคล
                การศึกษาเอดส์ในทางมานุษยวิทยา  กำลังเกิดขึ้นภายใต้บริบทของงานวิจัยแนวใหม่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเคยดำเนิน ไปในช่วงทศวรรษ 1990 งานทางชาติพันธุ์เกี่ยวกับเกย์เลสเบี้ยนในสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา เป็นการศึกษาทางประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์ชนชั้นและความสัมพันธ์ทางวัตถุ  งานวิจัยเหล่านี้สนใจเรื่องกามารมณ์และเพศสภาพของความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีการศึกษาในพื้นที่อื่นๆ
                งานชาติพันธุ์เกี่ยวกับสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามักจะนำเสนอ “โลกของเกย์” ในฐานะเป็นโลกที่โดดเดี่ยวและทำให้ตัวตนของเกย์เป็นภาพตัวแทนของคนที่นิยามตัวเองเป็นเกย์และเลสเบี้ยนในทุกหนทุกแห่ง   ตัวอย่าง การอธิบายแบบผิวเผินเกี่ยวกับหญิงรักหญิงในเขตเบย์แอเรีย ของวูลฟ์(1979) เป็นการเข้าใจผิดเกี่ยวกับเฟมินิสต์ที่เป็นเลสเบี้ยนในชุมชนที่วูลฟ์ศึกษาซึ่งถูกมองเป็นตัวแทนของเลสเบี้ยนทั้งหมด  ในทางตรงกันข้าม การศึกษา 3 เรื่องที่สำคัญ นำเสนอข้อถกเถียงทางทฤษฎีและทางวิชาการอย่างระมัดระวังซึ่งควรจะนำมาเป็นตัวอย่างการในศึกษาชุมชนในสหรัฐอเมริกา
                การศึกษาของนิวตัน(1993) เกี่ยวกับประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของเชอร์รี โกรฟ ในเขตไฟร์ไอส์แลนด์ เป็นการตรวจสอบเมืองต่างอากาศที่ช่วยสร้างเขตอาศัยของเกย์ที่แรกของโลก  ในเชอร์รีโกรฟ เลสเบี้ยนและเกย์สามารถพูดและกระทำผ่านกลุ่มของตัวเองที่เป็นกลุ่มใหญ่เป็นครั้งแรก  เริ่มต้นในทศวรรษ 1930  นิวตันบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการรวมตัวของเกย์ที่เป็นชนชั้นที่เป็นเจ้าของที่ดิน พร้อมกับเปรียบเทียบกับเกย์ที่มาจากกลุ่มกรรมกร  คนเช่าบ้านและคนพเนจร ถึงแม้ว่าคนขาวและสตรีจะสามารถเข้าไปในโกรฟได้ แต่อุดมการณ์ชาตินิยมของขบวนการเรียกร้องเสรีภาพของเกย์ในทศวรรษ 1960มิได้พิสูจน์เพียงพอว่ามีการทำลายการแบ่งแยกชนชั้นและสีผิว การวิเคราะห์ในรายละเอียดของนิวตันเกี่ยวกับความขัดแย้งภายในชุมชนเกย์เป็นเรื่องที่น่าพอใจและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
                เช่นเดียวกับงานของนิวตัน  เคนเนดี้และเดวิส(1993) ศึกษาการมีปฏิกิริยาระหว่างการเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่นกับการสร้างวัฒนธรรมย่อยในระดับชาติในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง       ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเลสเบี้ยนในเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ค คือการแสดงให้เห็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในช่วงทศวรรษ 1950-1970 ที่นำโดยผู้หญิงที่เข้าไปมีส่วนในวัฒนธรรมของหญิงรักหญิงในบาร์ที่เป็นชนชั้นแรงงาน  การสำรวจของเคนเนดี้และเดวิสเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์เพื่อสร้างความสนใจและแสดงความปรารถนาเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในการศึกษาเกย์และเลสเบี้ยน
                ในเรื่อง Families We Choose ผู้เขียนได้นำมุมมองทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์การจัดประเภทลักษณะทางชีววิทยาและสิ่งที่เป็นทางเลือกในอุดมการณ์เกี่ยวกับครอบครัวของเกย์  การศึกษานี้เชื่อมโยงกับการเกิดขึ้นของวาทกรรมที่มีต่อครอบครัวเกย์ในทศวรรษ 1980จนถึงช่วงการแยกตัวของขบวนเคลื่อนไหวของเกย์ในการเรียกร้องเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศต่อคนในครอบครัวและญาติที่เป็นบุตรบุญธรรม  สิ่งนี้คืองานวิจัยทางมานุษยวิทยาเกี่ยวกับเกย์และเลสเบี้ยนเพียงเรื่องเดียวที่สำรวจว่ากระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชนชั้น ชาติพันธุ์ และเชื้อชาติสามารถกลายเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนวิธีการปฎิบัติเกี่ยวกับเครือญาติได้อย่างไร        
                นอกการศึกษาชุมชนตามจารีตนิยม  เอลเลน เลอวิน ทำวิจัยเกี่ยวกับพ่อแม่ที่เป็นเลสเบี้ยน ซึ่งมีความน่าสนใจต่อการวิเคราะห์วิธีการที่ผู้หญิงจะพัฒนาวิธีการแสดงอัตลักษณ์ของเลสเบี้ยนและความเป็นแม่ที่ดูขัดแย้งกัน    ในขณะที่ผู้หญิงพัฒนาวิธีการเหล่านี้ในบริบทของการโต้แย้งเพื่อเรียกร้องสิทธิในการดูแลเด็กและการเรียกร้องจากเด็กๆ คนรัก และพ่อ  เลอวินพบว่าคนเหล่านี้กำลังต่อรองกับอัตลักษณ์ของตัวเองมากกว่าจะควบคุมพรมแดนของอัตลักษณ์ทางเพศซึ่งดูเหมือนจะมีความหมายมากกว่า   การประเมินการใช้ชีวิตในพื้นที่วิจัยกับคนรักที่เป็นเพศเดียวกัน วอลเตอร์(1996) ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการไม่คิดตามแบบสากลสำหรับการรื้อถอนการแบ่งประเภทของการเมืองเชิงอัตลักษณ์  สตรีชาวเยเมนเป็นนักวิจัยซึ่งเป็นชาวแอฟริกันอเมริกัน และมีคนรักเป็นคนผิวขาว  วอลเตอร์เชื่อว่าการเน้นให้เห็นอายุในฐานะเป็นหลักเกณฑ์ของการจัดระเบียบในสังคมเยเมนซึ่งมีความแตกต่างของสีผิวเช่นเดียวกับการอนุมานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศ  บทความของนิวตัน(1993) ค่อนข้างโดดเด่นในการอธิบายผลกระทบเกี่ยวกับการดึงดูดทางเพศที่เกิดในงานภาคสนาม ซึ่งก่อให้เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับการสะท้อนตัวตนในแนวทางใหม่
                การศึกษาเฉพาะด้านส่วนใหญ่มีตั้งแต่งานชาติพันธุ์เกี่ยวกับความขัดแย้งของแรงงานในร้านซ่อนรถของเลสเบี้ยนไปจนถึงงานศึกษาเกี่ยวกับบริษัทละครเกย์และชุมชนเกย์ชุดหนัง        มานุษยวิทยาภาษาศาสตร์ยังไม่ค่อยมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเกย์เลสเบี้ยนในอเมริกามากนัก  ในการรวบรวมศึกษาเกี่ยวกับเกย์ของเฮิร์ด(1992) พบว่าปีเตอร์สันและคาร์เรียร์ให้ความสนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์-เชื้อชาติกับอัตลักษณ์ทางเพศ  บทความเหล่านี้อธิบายอย่างละเอียดและซับซ้อนมากกว่างานในอดีต ซึ่งรวมถึงงานของรีด(1980) ที่ศึกษาพิธีกรรมของการตีตราในหมู่ผู้เข้าของบาร์เกย์ การศึกษาของโบลิน เป็นการวิจัยรุ่นบุกเบิกเกี่ยวกับคนข้ามเพศ และการศึกษาเกี่ยวกับการหาคู่และกิจกรรมทางเพศของผู้ชาย  งานเหล่านี้มาจากการทำวิจัยที่เพิ่มขึ้นของนัวิชาการสาขาอื่นๆซึ่งใช้วิธีการทำงานภาคสนามและการสัมภาษณ์เพื่อผลลัพธ์ที่ดี
                ในแง่ที่ดีที่สุด งานวิจัยทางชาติพันธุ์ใหม่ๆเกี่ยวกับเกย์และเลสเบี้ยนในสหรัฐอเมริกา ทำให้เห็นประเด็นเกี่ยวกับความสนใจทางมานุษยวิทยา เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างสังคมกับตัวคน  พื้นที่ การย้ายถิ่น และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม การก่อตัวของชุมชน การกลายเป็นสินค้า การเปลี่ยนระบบความคิด และความสัมพันธ์เกี่ยวกับกลุ่มคนที่ถูกกดขี่ในวัฒนธรรมกระแสหลัก  อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเหล่านี้ดูเหมือนจะเข้ากันได้กับความคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์และชุมชน   นักมานุษยวิทยาหลายคนที่ทำงานในสหรัฐ ยังคงสนใจประเด็นเกี่ยวกับเบ้าหลอมทางวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดเกย์ เลสเบี้ยน ไบเซ็กช่วล เควียร์ รักต่างเพศและรักเพศเดียวกัน ซึ่งเป็นการจัดประเภทที่ทำให้เกิดการทำวิจัยและการดำรงชีวิต

คนพื้นเมืองอยู่ที่ไหนตอนนี้

                เกย์และเลสเบี้ยนศึกษาในวิชามานุษยวิทยาเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนเมื่อนักวิจัยทั้งหลายไม่ได้สนใจแค่เรื่องการหาข้อเท็จจริง การจัดประเภท และการศึกษาที่จะสร้างคำถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์เชิงวัตถุ และวิธีการที่คนพื้นเมืองจะอธิบายพฤติกรรมที่ผู้สังเกตจะเข้าใจว่าเป็นคนข้ามเพศและโฮโมเซ็กช่วล  นักมานุษยวิทยาทั้งหลายเปลี่ยนความสนใจไปที่วิธีการที่คนพื้นเมืองจะอธิบายตัวเอง ไม่เพียงในวงเล็บที่เป็นความเชื่อตามประเพณีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการวิเคราะห์เชิงตีความที่ละเอียดขึ้น   ผลที่ตามมาเกี่ยวกับการถกเถียงเชิงคำศัพท์ได้ทำให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับการแบ่งแยกคนพื้นเมืองกับความเป็นคนอื่นซึ่งเป็นแนวเรื่องของการเปลี่ยนแปลงนี้  ในหลายกรณี นักมานุษยวิทยายังคงทำการศึกษาแบบองค์รวมตามจารีต ซึ่งทำให้โฮโมเซ็กช่วลปรากฎเป็นความหลากหลายในวัฒนธรรม วัฒนธรรมย่อย หรือระบบเพศสรีระ-เพศสภาพ  การเปลี่ยนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีการพัฒนาแนวการศึกษาเกี่ยวกับเพศสภาพและเพศวิถี ซึ่งเกี่ยวข้องกับคนพลัดถิ่นและการไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียว และการสร้างโครงของอัตลักษณ์ซึ่งแสดงออกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20
                ไม่ใช่สิ่งที่เกินความจริง ที่ว่ามีความสำคัญเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักมานุษยวิทยาที่นิยามตัวเองเป็นเกย์ เลสเบี้ยนและไบเซ็กช่วลในการพัฒนาเกี่ยวกับการศึกษาเพศสภาพและเพศวิถีแบบข้ามพรมแดนรัฐชาติ  แต่เกย์และเลสเบี้ยนศึกษาในมานุษยวิทยาจะเป็นเรื่องที่ยากต่อการแบ่งว่าอะไรเป็นนักมานุษยวิทยาและอะไรเป็นคนพื้นเมือง หรือแม้แต่นักมานุษยวิทยาที่เป็นผู้ที่ให้ข้อมูลเอง  ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงคือสิ่งที่มีมากขึ้น การวิจัยในประเด็นอื่นๆทางมานุษยวิทยาค่อยๆมารวมตัวกันมากขึ้น  การศึกษาคติความเชื่อ ประวัติศาสตร์ชีวิต การเต้นรำ ความสัมพันธ์เชิงการเมือง และเพศวิถี ในปัจจุบันนี้ล้วนมาเชื่อมต่อกันบนประเด็นโฮโมเซ็กช่วล สภาพสังคมแบบโฮโมเซ็กช่วล และสภาพคนข้ามเพศ  การเกลียดกลัวโฮโมเซ็กช่วลกลายเป็นหัวข้อสำหรับการตรวจสอบทางมานุษยวิทยา  นักวิชาการหลายคนได้ตรวจสอบว่าการปฏิบัติของเกย์เช่น การแต่งหญิงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงโดยอุดมการณ์กระแสหลักได้อย่างไร  การเมืองในทางปกติจะถูกทำให้ยุ่งเหยิงเมื่อนักแสดงและแฟนคลับของวงดนตรีหญิงทาการาซุกะในญี่ปุ่น ได้สร้างเพศสภาพอีกแบบหนึ่งซึ่งเป็นภาวะการต่อต้าน เป็นความพยายามที่จะทำให้การแสดงมุ่งไปสู่เรื่องชาตินิยม  การอุปมาอุปไมยในข้อเขียนทางการแพทย์ได้เปลี่ยนเพศวิถีในระดับเซลล์ที่อยู่ในร่างกายของคน บ่งบอกให้รู้ถึงนัยยะทางการเมืองที่เลวร้าย
                ทศวรรษหลังจากการจราจลในสโตนวอลล์  ซึ่งทำให้เกิดการเริ่มต้นขบวนการเคลื่อนไหวของเกย์     เกย์และเลสเบี้ยนก็ยังคงต่อสู้กับข้อจำกัดทางการเมือง ซึ่งทำให้การจัดประเภทบุคคลตามเพศเป็นเรื่องที่เป็นธรรมชาติ  (เลสเบี้ยน เกย์ และไบเซ็กช่วล) อัตลักษณ์เหล่านี้ยังคงฝังแน่นอยู่ในเรื่องผลประโยชน์ของการปกปิดและการเปิดเผย เกย์เลสเบี้ยนต้องเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนที่คล้ายกับการเผชิญหน้านักวิจัยที่ไปศึกษาพวกเขา นักวิชาการที่ศึกษาเกย์และเลสเบี้ยนมองหาการยอมรับจากสาขาวิชา ซึ่งเคยถูกทำให้เป็นพวกชายขอบกำลังพบกับสิ่งใหม่ๆ
                แทนที่จะเป็นการทะนุถนอมการครอบครองประเด็นที่มองเห็น หรือตรวจตราเขตแดนระหว่าง “คนนอก” และ “คนใน” งานที่ดีที่สุดในการศึกษาเกย์เลสเบี้ยนก็คือการใช้ข้อมูลภาคสนามในแบบที่นักมานุษยวิทยาเคยทำเพื่อที่จะทำให้แนวคิดเพศสภาพและเพศวิถีของชาวตะวันตกเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากปัจจัยธรรมชาติ  นักมานุษยวิทยาหลายคนที่ได้รับประโยชน์จากแนวคิดทฤษฎีมากมายซึ่งช่วยให้เกิดการศึกษาแนวเควียร์ในสาขามนุษยศาสตร์ เริ่มทำการศึกษาอีกครั้งต่อประเด็นอำนาจ ร่างกาย การงาน พิธีกรรม เครือญาติ การแพทย์ อารมณ์ การแสดง และวิธีทางชาติพันธุ์    ไม่มีอะไรในสิ่งเหล่านี้ที่จะเป็นไปได้โดยปราศจากการมองแบบการผลิตสร้างทางสังคมซึ่งทำให้เกย์และเลสเบี้ยนศึกษาในมานุษยวิทยาผ่านการทำลายความเงียบและนำการแอบซ่อนที่เคยมีมาช้านานไปสู่แสงสว่าง

แปลและเรียบเรียงโดย ดร.นฤพนธ์  ด้วงวิเศษ จาก Kath Weston. “Lesbian/Gay Studies in the House of Anthropology” in Weston. (1998) Long Slow Burn: Sexuality and Social Science. New York, Routledge.

ไม่มีความคิดเห็น: